"หวยซอง เลขเด็ด เขียนโดยสาธารณชน เป็นการเสนอแนะเพื่อเสี่ยงโชคซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ถูกกฎหมายเท่านั้น ไม่มีการขายหวยทุกชนิด และ ไม่มีใครทราบว่าหวยจะออกตัวไหน โปรดใช้วิจารณญาณ"

เรื่อง: ธรรมะ กับ ธรรมเมา
 
 24552

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

  • พลังน้ำใจ: 4019
06 ตุลาคม 2014, 07:34:05น.



  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #1 06 ตุลาคม 2014, 08:02:08น.
ธรรมะ คือ ความเป็นธรรมดา ความเป็นธรรมชาติของสิ่งที่เกิดขึ้น
ที่มีชื่อเรียกว่า ผัสสะ

ที่มีเกิดขึ้นทั้งภายนอก(สิ่งที่เกิดขึ้น) และภายใน(ใจที่รู้ และมีนึกคิด)
ซึ่งมีการเกิด-ดับ ตามเหตุและปัจจัย


ธรรมเมา คือ ความมัวเมา โลภะ โทสะ โมหะ ความหลง ที่ครอบงำอยู่
ความมัวเมาในอารมณ์  

เมื่อมีสิ่งใดเกิดขึ้น(ผัสสะ)
สิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งๆนั้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เหตุปัจจัยจาก อวิชชาที่มีอยู่ จึงหลงกระทำสร้างเหตุแห่งทุกข์(สานต่อ) ให้เกิดขึ้นใหม่
ตามแรงผลักดันของกิเลสที่เกิดขึ้น(ความรู้สึกนึกคิด)  ณ ขณะนั้นๆ

เมื่อความมัวเมา ความหลง(โมหะ) ครอบงำอยู่ เหตุปัจจัยจาก อวิชชาที่มีอยู่
เป็นปัจจัยให้ ไม่สามารถรู้ชัดถึง สภาพธรรมตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) ทั้งภายนอก และภายใน

ไม่รู้ชัดว่า ผัสะที่เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งๆนั้น ที่เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(ภายใน)
เป็นความปกติ ความเป็นธรรม ความเป็นธรรมของจิต ที่ยังมีกิเลสสังโยชน์ เนืองนองอยู่ในขันธสันดาน
 
เหตุที่สิ่งที่เกิดขึ้น(ภายนอก) ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
ล้วนเกิดจาก เหตุปัจจัยที่มีต่อกัน(เคยกระทำร่วมกันมา)

เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงหลงสร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
มากกว่าที่จะหยุดอยู่แค่ ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ


ทุกข์-สุข ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
จึงมีเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้

 
 
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 ตุลาคม 2014, 18:03:17น. โดย walaioo

  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #2 06 ตุลาคม 2014, 18:01:37น.
 
http://www.youtube.com/watch?v=Sltzlm7CvfY

ขอมอบความรักของฉัน
แด่ทุกสิ่งอันในโลกนี้

พ่อแม่ คุณครู เพื่อนมิตรไมตรี
สรรพสัตว์ และเทวดา

ขอมอบความรักแก่แผ่นดิน
ต้นน้ำ ลำธาร และท้องฟ้า

ให้อยู่รวมกัน เพื่อพึ่งพา

ขอแผ่เมตตา สิ้นทุกข์ สุขเทอญ



  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #3 08 ตุลาคม 2014, 10:34:52น.
มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง

[๗๑๐] ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นพระผู้มีพระภาคทรงอดทน ข้าพระองค์เห็นพระผู้มีพระภาคทรงยังอัตภาพให้เป็นไป กายของข้าพระองค์ประหนึ่งจะงอมระงมไป
 แม้ทิศทั้งหลายก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์ แม้ธรรมทั้งหลายก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์ เพราะความประชวรของพระผู้มีพระภาค

แต่ข้าพระองค์มาเบาใจอยู่หน่อยหนึ่งว่า พระผู้มีพระภาคยังไม่ทรงปรารภภิกษุสงฆ์
 แล้วตรัสพระพุทธพจน์อันใดอันหนึ่ง จักยังไม่เสด็จปรินิพพานก่อน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรอานนท์ ก็บัดนี้ ภิกษุสงฆ์จะยังมาหวังอะไรในเราเล่า ธรรมอันเราแสดงแล้ว กระทำไม่ให้มีในภายใน
ไม่ให้มีในภายนอกกำมืออาจารย์ในธรรมทั้งหลาย มิได้มีแก่ตถาคต

ผู้ใดพึงมีความดำริฉะนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ หรือว่าภิกษุสงฆ์ยังมีตัวเราเป็นที่เชิดชู
ผู้นั้นจะพึงปรารภภิกษุสงฆ์ แล้วกล่าวคำอันใดอันหนึ่งแน่นอน

ดูกรอานนท์ ตถาคตมิได้มีความดำริอย่างนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์
หรือว่าภิกษุสงฆ์มีตัวเราเป็นที่เชิดชู ดังนี้ ตถาคตจักปรารภภิกษุสงฆ์แล้วกล่าวคำอันใดอันหนึ่ง ทำไมอีกเล่า

บัดนี้เราก็แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว วัยของเราเป็นมาถึง ๘๐ ปีแล้ว เกวียนเก่ายังจะใช้ไปได้ก็เพราะการซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่
ฉันใด กายของตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังเป็นไปได้ก็คล้ายกับเกวียนเก่าที่ซ่อมแซมแล้วด้วยไม้ไผ่ ฉะนั้น.

[๗๑๑] ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตเข้าเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง
เพราะดับเวทนาบางเหล่าแล้วอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมผาสุก

เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
คือ จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด.

[๗๑๒] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่
มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย

ดูกรอานนท์ ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะมีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล.

[๗๑๓] ดูกรอานนท์ ก็ผู้ใดผู้หนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็น ผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง

ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศ.





ความเพียร มีผล ความพยายาม มีผล
ความเพียร ในที่นี้หมายถึง เพียรละเหตุแห่งทุกข์ ที่มีอยู่

เหตุแห่งทุกข์ ในที่นี้หมายถึง กิเลสสังโยชน์ 10 ที่มีอยู่ ได้แก่

๑. ทิฏฐิสังโยชน์

๒.วิจิกิจฉาสังโยชน์

๓. สีลัพพตปรามาส
 
๔. กามราคสังโยชน์

๕. ปฏิฆสังโยชน์

๖. ภวราคสังโยชน์

๗. อิสสาสังโยชน์

๘. มัจฉริยสังโยชน์

๙. มานสังโยชน์

๑๐. อวิชชาสังโยชน์




ทุกข์ ในที่นี้ หมายถึง

๑.ทุกข์-สุข ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต

๒. การเกิดเวียนว่าย ในสังสาวัฏฏ์ ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร ก็ตาม(ขึ้นชื่อว่า การเกิด ล้วนเป็นทุกข์)



ทำไมจึงกล่าวว่า กิเลสสังโยชน์ เป็นเหตุแห่งทุกข์
เพราะ กิเลส เป็นต้นเหตุ ที่ก่อให้เกิดการกระทำ

เมื่อมีผัสสะใดๆเกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เริ่มจาก มโนกรรม(ความรู้สึกนึกคิด/การกระทำทางความคิด)

เหตุปัจจัยจาก อวิชชา(ความไม่รู้) ที่มีอยู่
เป็นเหตุและปัจจัย ให้หลงกระทำ สร้างเหตุแห่งทุกข์ ให้มีเกิดขึ้นใหม่

โดยการสร้างเหตุออกไป(วจีกรรม กายกรรม)
ตามความรู้สึกนึกคิด(แรงผลักดันของกิเลส) ที่มีเกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ

ภพชาติปัจจุบัน(ความบังเกิดขึ้นแห่งภพ/มโนกรรม)
และภพชาติ การเวียนว่าย ในสังสารวัฏฏ์(มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม) จึงมีบังเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้

ทุกข์-สุข ในชีวิต และ ทุกข์(การเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสาร) จึงมีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้
เพราะ อวิชชาที่มีอยู่ เป็นเหตุและปัจจัยให้ ไม่รู้ชัดในผัสสะ ที่เกิดขึ้น จึงหลงกระทำ สร้างเหตุแห่งทุกข์ ให้มีเกิดขึ้นมาใหม่ ก็ยังไม่รู้

การจะละเหตุแห่งทุกข์(กิเลสสังโยชน์) มีแต่ การทำความเพียร(การทำกรรมฐาน ในรูปแบบต่างๆ ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยของผู้นั้น)
กิเลสสังโยชน์ที่มีอยู่ จะถูกทำลายจนหมดสิ้น มีเกิดขึ้นได้เฉพาะ สมุจเฉทประหานเท่านั้น(ถอนราก ถอนโคน)


ความพยายาม มีผล

ความพยายาม ในที่นี้ หมายถึง พยายามดับเหตุแห่งทุกข์

เหตุแห่งทุกข์ ในที่นี้หมายถึง เหตุของ การสร้างเหตุ(มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม) แห่งทุกข์(ทุกข์-สุข ที่มีเกิดขึ้น ในชีวิต)

ความพยายามดับเหตุแห่งทุกข์ หมายถึง ความพยายามอดทน อดกลั้น กดข่มใจ
ไม่สร้างเหตุออกไป(วจีกรรม กายกรรม) ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น(ตามแรงผลักดันของกิเลส)

เมื่อยังมีกิเลส ความรู้สึกนึกคิด ย่อมมีเกิดขึ้น เป็นเรื่องธรรม เป็นความปกติของผู้ที่ยังมีกิเลส
แค่รู้ว่า มีความรู้สึกนึกคิดเกิดขึ้น(มโนกรรม) ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นนี้ ห้ามไม่ให้มีเกิดขึ้น ห้ามไม่ได้
แต่การกระทำ ห้ามได้ โดยพยายามไม่สร้างเหตุออกไป(วจีกรรม กายกรรม) ตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น จากผัสสะ(สิ่งที่เกิดขึ้น)  เป็นเหตุปัจจัย

เมื่อกระทำแบบนี้เนืองๆ(พยายามอดทน อดกลั้น กดข่มใจกับโลกธรรม ๘ ที่มีเกิดขึ้น)
สติ ย่อมมีกำลังมากขึ้น เมื่อจะคิดทำอะไร จิตจะเกิดการคิดพิจรณาก่อนที่จะลงมือกระทำ มากขึ้น

เป็นเหตุปัจจัยให้ มีสติ รู้อยู่กับปัจจุบัน(สิ่งที่เกิดขึ้น)  ได้ทันมากขึ้น
 เหตุของการสร้างเหตุแห่งทุกข์ ที่จะกระทำให้มีเกิดขึ้นใหม่   ย่อมลดน้อยลงไป ตามเหตุและปัจจัย

เมื่อไม่กระทำเพิ่ม ทุกข์ ที่ยังมีเกิดขึ้นอยู่ ย่อมเบาบางลงไป ตามเหตุปัจจัย
เหตุไม่มี ผลจะมาจากไหน

ที่ยังทุกข์อยู่
เหตุมี ผลย่อมมี

ต้นเหตุของการสร้างเหตุของการเกิด ได้แก่ กิเลสสังโยชน์ สามารถละได้โดย การทำความเพียรต่อเนื่อง

ต้นเหตุของการสร้างเหตุแห่งทุกข์(ทุกข์-สุข ในชีวิต) ได้แก่ มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม(ที่กระทำลงไป ตามแรงผลักดันของกิเลส ที่เกิดขึ้น เหตุจาก ความไม่รู้ ที่มีอยู่)
วิธีกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ การอดทน อดกลั้น กดข่มใจ พยายามไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

เหตุไม่มี ผลย่อมไม่มี
ที่ผลยังมีอยู่ ล้วนเกิดจาก เหตุที่ยังมีอยู่

ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล จึงเกี่ยวเนื่องกัน เพราะเหตุนี้

   



  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #4 20 ตุลาคม 2014, 10:48:51น.
การอยู่ร่วมกัน

สังคม ไม่ใช่ตัวกำหนดวัดค่าของผู้ใด ผู้หนึ่งได้
ไม่มีใครที่คิดตัดสินใครได้

การกระทำ ทุกๆการกระทำ ที่กระทำลงไป และที่แอบกระทำ(ในใจ)
เหตุเป็นอย่างไร ผลย่อมเป็นเช่นนั้น

ส่วนผลของเหตุไหน จะส่งให้ได้รับได้เร็วกว่ากัน
ขึ้นอยู่กับ สิ่งที่เคยกระทำไว้ และสิ่งที่กำลังกระทำให้เกิดขึ้นใหม่ ในแต่ละขณะๆๆ

สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต ในแต่ละขณะ ของแต่ละคน
ล้วนเกิดจาก เหตุ(สิ่งที่เคยกระทำไว้)

ต้นเหตุของ อวิชชา(ความไม่รู้) ที่มีอยู่
เป็นปัจจัยให้ ก่อให้เกิดการกระทำลงไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

การเรียนรู้ มีอยู่ทุกขณะๆๆ
เรียนรู้ที่จะอยู่กับสภาพแวดล้อมต่างๆได้ โดยใจเป็นทุกข์ น้อยลง ตามอุปทาน ที่ยังมีอยู่


ยึดมาก ทุกข์มาก
ที่ไม่ยึดเลย มีแต่ผู้ปราศจากกิเลสเท่านั้น





หวยซอง เลขเด็ด อภิโชควิเคราะห์เลขรวย หวยรัฐบาล : Apichoke.net

Re: ธรรมะ กับ ธรรมเมา
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 20 ตุลาคม 2014, 10:48:51น. »

อาจารย์มงกุฏทอง C7 *
  • พลังน้ำใจ: 17675
ตอบกลับ #5 21 ตุลาคม 2014, 10:26:15น.


"ร้อยคนรัก ไม่เท่าหนึ่งคนที่ภักดี  ร้อยคำหวานที่มี ไม่อาจเท่าหนึ่งคำที่จริงใจ"

  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #6 23 ตุลาคม 2014, 12:41:58น.
การพัฒนาของสติ

เมื่อก่อนไม่รู้หรอกนะว่า ทำไมระหว่างวัน เวลาทำอะไรก็ตาม จะต้องมีจิตวิตก วิจารณ์ตลอด
กินก็คิด เดินก็คิด เข้าห้องน้ำก็คิด ทำงานบ้านก็คิด ซื้อของก็คิด แม้กระทั่งเวลานอนก็คิด ขนาดฝัน ก็ยังรู้ว่าฝัน ก็รู้ว่าคิด
พอรู้สึกตัวว่ากำลังฝัน จะมีสติบอกว่า กลับมาๆ นี่กำลังฝัน  จะกลับมารู้สึกตัวที่กายทันที

คือ ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใด หรืออยู่ในอิริยาบทใด มักมีวิตกวิจารณ์(ครุ่นคิดของสิ่งที่กำลังทำอยู่)เกิดขึ้นเนืองๆ
เมื่อมีวิตกวิจารณ์เกิดขึ้น การทำกิจนั้นๆ ย่อมช้าลง การตัดสินใจที่จะกระทำสิ่งใด ย่อมช้าลง แม้กระทั่งเวลากิน
เมื่อก่อน เป็นคนกินข้าวหรือกินอะไรก็ตาม กินไวมาก

ตอนนี้เห็นความแตกต่าง ตอนที่ออกไปกินข้าวนอกบ้านกับน้องๆ จะเห็นว่า เป็นคนกินช้าลง ตั้งแต่เมื่อไหร่ ก็ไม่รู้
ไม่ใช่กินนับคำ บด ขยี้อาหาร รู้ว่ามี แต่ไม่ต้องกำหนดนับอะไรทั้งสิ้น เหมือนกินเรื่อยๆ ภายในเหมือนจะเร็ว แต่ภายนอก กลับดูช้า
การทำงานต่างๆ มีความละเอียด มีรายละเอียดของเนื้องานที่ทำมากขึ้น
จะค่อยๆรู้ชัดในรายละเอียดเหล่านั้น ค่อยๆรู้ ไม่ใช่รู้ทันที


การทำความเพียร

ขณะทำความเพียร ก็เช่นกัน บางครั้ง นั่งลง จิตเข้าสู่ความสงบ มีสมาธิเกิดขึ้นทันที บางครั้ง จิตจะคิดๆๆๆ สารพัดคิด แค่รู้ว่าคิด ปล่อยให้คิดไป
ถ้าเป็นเมื่อก่อน ตอนนั้นยังไม่รู้ว่า ความคิดที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องปกติของกิเลสที่มีอยู่

หากมีติดใจสิ่งใดอยู่ สติจะเป็นตัวจะขุดคุ้ยขึ้นมาคิด เมื่อไม่รู้ จึงทำให้เกิดความทุกข์ ทุกข์เพราะคิด อยากให้ความคิดที่เกิดขึ้นหายไป จะได้ทำสมาธิ
นี่หวังผล ทุกข์เพราะคิด จึงมีเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้ เหตุจากความไม่รู้

พอรู้แล้ว ไม่ทุกข์ ไม่ต้องกำหนด คิดหนอ รู้หนอ เมื่อก่อนไม่รู้ กำหนดใหญ่เลย พอความคิดดับหายไป โอ๊ยดีใจ วิธีนี้ได้ผล
ที่ไหนได้ เดี๋ยวมีเกิดขึ้นอีกแล้ว เกิดอีก กำหนดอีก ใครเหนื่อยล่ะ ตัวเองแหละเหนื่อย เหนื่อยใจกับการที่ต้องกำหนดซ้ำซาก เพื่อให้ความคิดที่เกิดขึ้น หายไป
พอรู้แล้ว เลิกกำหนด ไม่สนใจ มันก็แค่ความคิด ที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องปกติของเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่
เมื่อไม่ใส่ใจ แล้วความคิดเหล่านั้น จะหายไปเอง ไม่ต้องไปทำอะไร จิตเป็นสมาธิเอง


เวทนา

เวทนา ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ โดยเฉพาะความทุกข์กาย ความเจ็บปวด ความปวดเมื่อย อาการปวดขา ที่เกิดขึ้น
แรกๆที่ยังไม่รู้ ทุกข์มาก ยิ่งกำหนด ยิ่งปวด ปวดแทบจะขาดใจตาย น้ำตาเล็ด น้ำตาร่วง การปฏิบัติ ทำไมช่างยากลำบาก อย่างนี้หนอ
คิดๆๆ เจอทุกข์บ่อยๆ เลิกทำ ทำไปทำไม ยิ่งทำยิ่งปวด ไหนใครว่า ทำแล้วสบาย ทรมาณเป็นบ้า

พอเจอทุกข์(ในชีวิต) วิ่งหางจุดตูด ต้องเจอทุกข์ จนทนไม่ไหว นั่นแหละจึงหันกลับมา เริ่มต้นใหม่ ตายเป็นตาย ทุกข์ทางกายแค่นี้ ไม่ตายหรอก ทุกข์ทางโลก หนักยิ่งกว่า
พอลืมทุกข์(ทางโลก) เริ่มทำจ้ำจิ้ม กลับมาใช้ชีวิตปกติ ทุกข์มาก ทุกข์น้อย เริ่มเคยชิน

เพราะยังไม่เจอทุกข์ถึงที่สุด กรรมฐานจ้ำจิ้ม ย่อมมี เป็นเรื่องธรรมดาๆ ของสัตตานัง(ผู้ที่ยังมีเหตุให้ต้องเกิด) ที่ถูกอวิชชา ห่อหุ้มอยู่
ผลของทำความเพียรต่อเนื่อง ถึงจุดๆหนึ่ง สติ สัมปชัญญะ สมาธิ เกิดความสมดุลย์ การทำงานของจิต ขณะเป็นสมาธิอยู่
กระบวนการความรู้ชัด ย่อมเห็นได้ชัดเจนขึ้น รู้ชัดในแต่ละขณะของสิ่งที่เกิดขึ้น มากขึ้น

ทำให้เห็นการทำงาน กายส่วนกาย(สิ่งที่เกิดขึ้นกับกาย)
จิตส่วนจิต(กระบวนการรับรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น) แยกออกจากกัน
กายส่วนกาย จิตส่วนจิต

จิตเป็นเพียงกระบวนการของการรับรู้ถึงสิ่งที่มีเกิดขึ้น การรู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น ในแต่ละขณะ เป็นกระบวนการของความรู้สึกตัวหรือสัมปชัญญะ
สติเหมือนเชือก ที่ผูกจิตไว้ ให้รู้อยู่กับกระบวนการที่กำลังเกิดขึ้นทั้งหมด ไม่มีซัดส่าย ไปหาอดีต ไปหาอนาคต ที่ยังไม่เกิด

มาถึงตรงนี้แล้ว การทำความเพียร เริ่มสบายขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนอิริยาบทได้ตามใจชอบ ไม่ต้องสนใจอาการต่างๆที่เกิดขึ้น
เมื่อยก็เปลี่ยน ปวดก็เปลี่ยน ไม่ต้องนั่งทนทุกข์ทรมาณ ไม่ต้องนั่งทรมาณสังขาร โดยการถือเนสัชชิก(ไม่นอน หลังไม่แตะพื้น)

เรื่องอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหารย์ต่างๆ ยังมีอยู่ แต่ไม่เอามาเป็นอารมณ์ และไม่นำไปสร้างเหตุนอกตัว(คุยโม้ โอ้อวด)
เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นต่างๆนี้ เป็นเรื่องปกติ เรื่องธรรด๊า ธรรมดา ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ ไม่ใช่เรื่องคุณวิเศษอันใด

หากไม่รู้ ย่อมนำไปสร้างเหตุแห่งทุกข์ ให้เกิดขึ้นใหม่(คุยโม้ โอ้อวด เป็นที่มาของอามิสบูชา จากผู้ที่มีเหตุปัจจัยร่วม) จมแช่กับสังสารวัฏต่อไป
เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นการรู้นอกตัว ไม่สามารถนำมากระทำ เพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้
หากรู้แล้ว มีบ้างที่ยังนึกถึง แต่ไม่ติดใจ ไม่มีทั้งอยากให้เกิดขึ้นและไม่อยากให้มีเกิดขึ้นอีก

อยู่ที่บ้าน ทำยังไงก็ได้ อยากนอนก็นอน อยากนั่งก็นั่ง อยากทำอะไรก็ทำ ไม่เคร่งเครียดแบบก่อนๆ
พยายามละเหตุนอกตัว ไม่คลุกคลีตีโมงกับใครๆ ไม่มีสังคม ทำตัวเหมือนเต่าหดหัวอยู่ในกระดอง

การทำความเพียร จึงกลายเป็นเรื่องปกติ ทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้น หากมีสติรู้เท่าทัน ไม่สร้างเหตุออกไป ตามแรงผลักดันของกิเลส ก็เป็นการทำความเพียร ในรูปแบบหนึ่ง ที่ให้ผลไว เช่นกัน
การทำความเพียร ในรูปแบบ ยืน เดิน นั่ง นอน
ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานะไหน หากรู้แล้ว ทุกข์น้อยลง ไม่ยึดติดรูปแบบ
ไม่กระทำเพื่อเพิ่มตัณหา ทะยานอยาก ในความมี ความเป็น แม้กระทั่งสิ่งที่ถูกเรียกว่า เพื่อบรรลุธรรม เป็นเรื่องของกิเลส เรื่องของเหตุปัจจัย

ทั้งหมดนี้ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่มีอยู่(สิ่งที่เคยทำไว้และอวิชชา) ของแต่ละคน และที่กำลังกระทำให้เกิดขึ้นใหม่ ในแต่ละขณะๆๆๆ ของแต่ละคน
การดำเนินชีวิต และการทำความเพียร ของแต่ละคน จึงมีความแตกต่างกันไป เพราะเหตุนี้

ใช้ตัณหา เพื่อละตัณหา(ใช้ความอยากในสิ่งที่เรียกว่า บรรลุธรรม กระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติ
ใช้ความอยาก ในความอยากเป็น สิ่งที่เรียกว่า โสดา สกิทาคา อนาคามี อรหันต์) เป็นเรื่องของ อวิชชา หรือความไม่รู้ที่มีอยู่

เมื่อรู้ชัดในทุกข์ สุข ทั้งที่รู้ด้วยตนเอง และรู้จากคำบอกเล่า ว่าสิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิตว่า เพราะอะไรเป็นเหตุปัจจัย ทำให้มีเกิดขึ้น
ความหลง การจมแช่(ความติดใจ) อยู่กับทุกข์ สุข ความลุ่มหลง ในความอยากมี อยากเป็น ที่เกิดขึ้น ย่อมเบาบางลงไปตามเหตุปัจจัย
แต่ก็ยังมีหลงสร้างเหตุแห่งทุกข์ ให้เกิดขึ้นใหม่

จนกว่ารู้ชัดว่า ทุกข์ที่แท้จริงแล้ว เป็นเรื่องของ การเกิด ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร ฐานะใด มีเงินมากมายมหาศาลแค่ไหน ล้วนเป็นทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น
การสำรวม สังวร ระวัง ในการสร้างเหตุทางกาย วาจา ย่อมระวังมากขึ้น ที่ระวัง เพราะ ไม่อยากทุกข์(ไม่อยากเกิด)

ความเพียร เพียรไม่พัก เพียรทุกขณะ เพียรแบบธรรมดา
ไม่เพียรแบบผิดปกติ หามรุ่งหามค่ำ ไม่หลับไม่นอน(ผู้ทำแบบนี้ ไม่ได้ผิดปกติอะไร เป็นเรื่องของความไม่รู้ที่มีอยู่)

เพียรไม่พัก คือ มีสติ เวลาจะทำอะไร จิตจะคิดพิจรณาก่อนลงมือทำ การตัดสินใจทำสิ่งใด ช้าลง
การเพียรตามรูปแบบ ปรับเปลี่ยนตามเหตุปัจจัยของตน ไม่เคร่งครัด ไม่มีกฏตายตัว

นั่งๆอยู่ นึกอยากจะนอน ก็นอน ไม่สนใจว่า คืออะไร เป็นอย่างไร ถือว่า เพียรเหมือนกัน
เวลานอน สมาธิที่เกิดขึ้น มีกำลังมาก โอภาสย่อมมีเกิดขึ้น เป็นเรื่องธรรมดา
แสงสว่างที่เกิดขึ้นมากน้อย แค่ไหน เป็นเรื่องของกำลังสมาธิ ที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ ไม่ใช่คุณวิเศษอันใด

หากรู้ชัดเกี่ยวกับสภาวะขณะจิตเป็นสมาธิ อุปทาน การให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ หรือความติดใจ อยากให้มีเกิดขึ้นอีก ย่อมไม่มี
 เพราะรู้แล้วว่า เป็นเรื่องปกติของสภาวะที่มีเกิดขึ้น

หากรู้ชัดในเรื่องของเหตุแะลปัจจัย จะไม่เสียเวลาไปกับการเที่ยวชักชวน โน้มน้าวใครๆ ว่าจะต้องทำแบบนั้น แบบนี้
หากมีเหตุปัจจัยต่อกัน อยู่สุดหล้าอีกฟากฟ้า ก็มาหากันเอง ที่ชวนกันแทบตาย แล้วไม่มา เพราะไม่ได้สร้างเหตุ ให้มาเชื่อกัน




  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #7 17 ธันวาคม 2014, 11:11:31น.
ศิล และการเกิดสภาวะศิล
09
มิ.ย.
2014
แสดงความคิดเห็น
by walailoo in ศิล แก้ไข

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 3

 

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทาวิราคะ

มีอะไรเป็นผล มีอะไร เป็นอานิสงส์.

 

พ. ดูก่อนอานนท์ นิพพิทาวิราคะ

มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล

มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์

 

 

ดูก่อนอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล

 

มีอวิปปฏิสาร(ความไม่ร้อนใจ)เป็นผล

มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์

 

อวิปปฏิสารมีปราโมทย์(ความบันเทิงใจ)เป็นผล

มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์

 

ปราโมทย์มีปีติ(ความอิ่มใจ)เป็นผล

มีปีติเป็นอานิสงส์

 

ปีติมีปัสสัทธิ(ความสงบกายสงบใจ)เป็นผล

มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์

 

ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล

มีสุขเป็นอานิสงส์

 

สุขมีสมาธิเป็นผล

มีสมาธิเป็นอานิสงส์

 

สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะ(ความรู้ ความเห็น ตามความเป็นจริง)เป็นผล

มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์

 

ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะ(ความเบื่อหน่าย)เป็นผล

มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์

 

 

นิพพิทาวิราคะ(ความคลายกำหนัด)

มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล(ความรู้ความเห็นในวิมุตติ)

 

 

ดูก่อนอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล ย่อมถึงอรหัตโดยลำดับ

 

ด้วยประการดังนี้แล.

 

 

หมายเหตุ:

 

แนวทางการปฏิบัติ การดับภพชาติปัจจุบัน

โดยการ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

ที่เกิดจาก ผัสสะ(สิ่งที่เกิดขึ้น) เป็นเหตุปัจจัย

 

ขณะที่หยุดสร้างเหตุนอกตัว ชั่วขณะนั้น

สภาวะโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เกิดขึ้นเอง ตามความเป็นจริง

ของเหตุปัจจัย ที่ได้กระทำลงไป ได้แก่ การหยุดสร้างเหตุนอกตัว

 

บทว่า อริยกนฺตานิ สีลานิ ได้แก่ สีลสัมปยุตด้วยมรรคและผล.

 

เมื่อหยุดสร้างเหตุเนืองๆ สภาวะเหล่านี้ จึงเกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัย

 

 

 

ศิล และการเกิดสภาวะศิล

 

ศิล

 

กล่าวในแง่ของ ปริยัติ

 

ศีล (บาลี: สีล) คือข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา

เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจา

ให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีความปกติสุข

 

เพื่อให้เป็นกติกาข้อห้ามที่ใช้แก้ปัญหาขั้นพื้นฐาน 5 ปัญหาหลัก

ซึ่งทำให้เกิดความสงบสุข และ ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันในสังคม

 

ความหมายของศีลนั้นแปลได้หลายความหมาย โดยศัพท์แปลว่า

ความปกติกายวาจา กล่าวคือความปกติตามระเบียบวินัย,

ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ,

ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว,

ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น,

ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ

 

และยังมักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า “อธิศีลสิกขา”

อันได้แก่ข้อปฏิบัติขั้นต้นเพื่อการฝึกตนในทางพระพุทธศาสนาด้วย.

 

 

ศิล

 
กล่าวในแง่ของสภาวะ(ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น)

 
เหตุของการเกิด สภาวะศิล


ศิล เกิดจาก ตั้งใจทำให้เกิดขึ้น ๑ ไม่ได้ตั้งใจ ทำให้เกิดขึ้น ๑

 

๑. ตั้งใจทำให้เกิดขึ้น ได้แก่ การสมาทาน เช่น ข้าพเจ้าขอสมาทาน ….

 ๒. ไม่ได้ตั้งใจ ทำให้เกิดขึ้น แต่ เกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

ได้แก่ เมื่อมีสิ่งมากระทบ หรือ ผัสสะเกิดขึ้นทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

เป็นเหตุให้ มีความรู้สึกยินดี/ยินร้าย/เฉยๆ เกิดขึ้น

 

โดยมี ตัณหาหรือกิเลส เป็นแรงผลักดัน ให้เกิดการกระทำ

เช่น ทางความคิด เรียกว่า มโนกรรม

 

แต่ ไม่ได้สร้างเหตุออกไปทาง วจีกรรม กายกรรม
ตามความรู้สึก นึกคิด ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ

 

เหตุของการกระทำเช่นนี้  เป็นเหตุให้ สภาวะศิล
เกิดขึ้นเอง ตามความเป็นจริง ตามเหตุปัจจัย

 

 

ในดี มีเสีย ในเสียมีดี

 

ตราบใด ที่ยังมีกิเลส ๒ สิ่งนี้ เกิดขึ้น เป็นคู่เสมอๆ

ได้แก่ โลกธรรม ๘

 

คือ ดีกับเสีย

กล่าวคือ ในดี มีเสีย ในเสียมีดี

 

 

การตั้งใจสมาทาน

 

ข้อดี ของการตั้งใจสมาทานศิล

 

เป็นเหตุให้ เป็นผู้สังวร สำรวม ระวัง จะทำอะไรก็มีความตั้งใจทำ

เป็นผู้มีสัจจะ เป็นผู้มีสุคติภพ อย่างแน่นอน

 

ข้อเสีย ของการตั้งใจสมาทาน แต่ทำไม่ได้ ตามที่ได้สมาทานไว้

เป็นเหตุให้ เป็นคนเหลาะแหละ ผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่มีสัจจะ

 

 

การไม่ได้ตั้งใจสมาทาน

 

ข้อดี การเกิดสภาวะศิล ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง (ตามเหตุปัจจัย)

 

๑. เป็นเหตุให้ มรรค มีองค์ ๘ เกิดขึ้น (ตามเหตุปัจจัย)

 

๒. เป็นเหตุให้ ภพชาติ ณ ปัจจุบันชาติ สั้นลง (ตามเหตุปัจจัย)

 

๓. เป็นเหตุให้เป็นผู้มีสติ สัมปชัญญะดี (ตามเหตุปัจจัย)

 

๔. เป็นเหตุให้ สมาธิเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย (ตามเหตุปัจจัย)

 

๕. เป็นเหตุให้ หิริ โอตตัปปะ มีกำลังมากขึ้น

เป็นเหตุให้ เป็นผู้มีความละอาย และเกรงกลัวต่อบาป ทั้งต่อหน้า และลับหลัง

 

๖. เป็นเหตุให้ ชีวิต ความเป็นอยู่ ดีขึ้น (ตามเหตุปัจจัย)

 

๗. เป็นเหตุให้ เห็นสภาพธรรม ตามความเป็นจริง ของผัสสะ ที่เกิดขึ้น

คือ การเห็นตามความเป็นจริง ได้แก่ สภาวะไตรลักษณ์ ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง (ตามเหตุปัจจัย)

 

๘. เป็นเหตุให้ เกิดสภาวะ จิตปล่อยวาง ตามความเป็นจริง (ตามเหตุปัจจัย)

 

๙. เป็นเหตุให้ เห็นตามความเป็นจริงของทุกสรรพสิ่ง

ได้แก่ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้น ย่อมดับลงไป เป็นธรรมดา (ตามเหตุปัจจัย)

 

๑๐. เป็นเหตุให้ เป็นผู้มี สุคติภพ อย่างแน่นอน (ตามเหตุปัจจัย)

 

๑๑. เป็นเหตุของ การเวียนว่าย ในวัฏฏสงสาร สั้นลง (ตามเหตุปัจจัย)

 

 

ข้อเสีย ถ้าหากยังยอมรับตามความเป็นจริง ยังไม่ได้

ผลคือ ความทุกข์ใจ ที่เกิดขึ้นเนืองๆ ในช่วงแรกๆ

 

แต่เมื่อใช้ขันติ หรือ ความอดทนอย่างต่อเนื่อง

ทุกๆสภาวะที่กล่าวมา จะเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย






อาจารย์มงกุฏทอง C7 *
  • พลังน้ำใจ: 17675
ตอบกลับ #8 18 ธันวาคม 2014, 09:42:10น.

 v|o +|p
"ร้อยคนรัก ไม่เท่าหนึ่งคนที่ภักดี  ร้อยคำหวานที่มี ไม่อาจเท่าหนึ่งคำที่จริงใจ"

  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #9 05 มกราคม 2015, 09:15:03น.
ทิฏฐิสังโยชน์


ทิฏฐิสังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องผูกสรรพสัตว์ไว้ คือ ความเห็นผิด องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ดวง

สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัว ตน เรา เขา ได้แก่ อุปทานในขันธ์ ๕ เช่น ในการนั่งว่า เรานั่ง ในการนอนว่า เรานอน เป็นต้น
เช่น เมื่อเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏทัพพะ เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นของสวยงาม และเป็นของยั่งยืน

โดยสภาวะ(ลักษณะอาการ ที่เกิดขึ้น) คือ ยึดความเห็นของตน ได้แก่ การให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้นว่า สิ่งนั้นถูก สิ่งนี้ผิด สิ่งนี้ใช่ สิ่งนี้ไม่ใช่ ตามความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง
แต่ไม่ใช่ตามความเป็นจริงของตัวสภาวะหรือสิ่งที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยของสิ่งๆนั้น


ธรรมชาติของจิต

จิตมีสภาวะรู้อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะทางกาย เวทนา จิต ธรรม
ซึ่งเป็นธรรมชาติของจิตที่จะรู้อารมณ์ต่างๆเหล่านี้ที่เกิดขึ้น เป็นความปกติของจิต


ทิฏฐิสังโยชน์

กิเลสและสังโยชน์ที่มีองค์ธรรมเดียวกัน คือ ทิฏฐิสังโยชน์กับทิฏฐิกิเลส

ทิฏฐิกิเลส ได้แก่ สักกายทิฏฐิ คือ ความเข้าใจผิดในขันธ์ ๕ เข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่าปัญขันธ์นี้เป็นของแห่งตน

เรื่องสักกายทิฏฐินี้ พระพุทธองค์ได้ทรงเทศนาแก่ภิกษุทั้งหลาย ดังปรากฏในสังยุตตนิกายพระบาลีว่า :-
สตฺติยา วิย โอมฏฺโฐ ทยหมาโน ว มตฺถเก
สกฺกายทิฏฺฐิ ปหานาย สโต ภิกฺขุ ปริพฺพเช

ภิกษุผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร รู้สึกตนประหนึ่งถูกศาสตราวุธอันมีคมทิ่มแทงอยู่ หรือดุจถูกไฟไหม้อยู่บนศรีษะ
พึงเป็นผู้มีสติไม่ประมาทอยู่เถิด เพื่อจะได้กำจัดเสียซึ่งสักกายทิฏฐิ

ทิฏฐิ ได้แก่ ความเห็น


ผัสสะ

เหตุของความไม่รู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นหรือผัสสะที่เกิดขึ้น ไม่รู้สาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งนั้น ว่าเกิดขึ้นจากอะไร
ไม่รู้ว่าทำไมผัสสะที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งจึงมีผลต่อจิตบ้าง ไม่มีผลต่อจิตบ้าง แต่ละครั้งทำไมไม่เหมือนกัน
ทำไมจึงมีความรู้ึกยินดี ยินร้าย หรือเฉยๆ ต่อผัสสะที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง


ความไม่รู้ในเหตุ

เพราะเหตุของความไม่รู้ตามความเป็นจริงในเรื่องผัสสะหรือสิ่งที่เกิดขึ้นตรงนี้
ความรู้สึกยินดี หรือยินร้ายที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลก่อให้เกิดการกระทำลงไปด้วยความไม่รู้
เป็นการกระทำที่มีเจตนาบ้าง ไม่มีเจตนาบ้าง ตามความไม่รู้ที่มีอยู่


สักกายทิฏฐิอันเป็นกิเลสตัวแรกนี้ เป็นเหตุให้ต้องได้รับความเดือดร้อน วนเวียนอยู่ในวัฏฏทุกข์
โดยไม่อาจนับภพชาติได้ ก็ด้วยอำนาจทิฏฐิกิเลสนี้เอง


โดยเหตุ

สักกายะทิฎฐิ เป็นสภาวะแบบหยาบของมานะกิเลส คือ เป็นการทำงานของขันธ์ ๕ ที่ยังมีความไม่รู้
เป็นเหตุให้การยึดมั่นถือมั่นในอุปทานขันธ์ ๕ ด้วยความไม่รู้จึงยึดมั่นในความรู้สึกคิดของตนเองที่มีต่อผัสสะที่กำลังเกิดขึ้น

เป็นเหตุให้ เกิดการให้ค่าต่อผัสสะหรือสิ่งที่มากระทบหรือสภาวะที่เกิดขึ้น ว่าสิ่งๆนั้นถูกบ้าง ผิดบ้าง
เป็นเหตุให้เกิดความชอบ ชัง ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่กับสิ่งที่มากระทบ


โดยสภาวะ
สักกายะทิฏฐิ กล่าวโดยสภาวะ ได้แก่ ขณะที่ผัสสะเกิดขึ้น มีความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นในจิต ไม่ว่าจะชอบ, ชัง แม้กระทั่งเฉยๆ
ซึ่งไม่รู้ถึงเหตุว่า ทำไมจึงชอบ, ชัง หรือทำไมไม่รู้สึกอะไรเลย (โมหะ)

จากความไม่รู้ถึงเหตุตรงนี้ เป็นเหตุให้สร้างเหตุไปด้วยความไม่รู้ที่ยังมีอยู่ กระทำลงไปตามความรู้สึกที่เกิดขึ้นขณะนั้น
ผลที่ได้รับคือ สุขบ้าง ทุกข์บ้างตามอุปทานที่มีอยู่


เรา, เขา

ได้แก่ การนำความรู้สึกนึกคิดของตัวเองที่มีอยู่ไปให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น แม้กระทั่งบุคคลอื่นๆก็เป็นเช่นเดียวกัน
โดยการนำความรู้สึกนึกคิดของเขาที่มีอยู่ให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

เนื่องจากความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงไม่รู้ถึงเหตุว่าทำไมสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ละขณะจึงมีความรู้สึกนึกคิดไม่เหมือนกัน ทั้งๆที่เป็นเรื่องเดียวกัน
เพียงแตกต่างที่ตัวบุคคลและสภาวะแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น


กล่าวในแง่ของการคิดพิจรณา

ทิฏฐิกิเลส ได้แก่ สักกายทิฏฐิ คือ ความเข้าใจผิดในขันธ์ ๕ เข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่าปัญขันธ์นี้เป็นของแห่งตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล, เรา, เขา
เช่น ในการยืน เดิน นั่ง นอน ก็เข้าใจว่าตนเป็นผู้ยืน เดิน นั่ง นอน ความเข้าใจผิดเช่นนี้ ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ
อันเป็นความเห็นที่ผิด ที่ทำให้ติดอยู่ในความหมุนเวียนของวัฏฏสงสาร

การสอนเช่นนี้ เป็นเพียงอุบายในการถ่ายถอนอุปทานที่มีอยู่ เพื่อละความยึดมั่นถือมั่นที่มีอยู่ให้ลดน้อยลงไป


ตามความเป็นจริง

โดยสภาวะที่แท้จริงของตัวสักกายทิฏฐินั้น ได้แก่ การให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้นหรือผัสสะต่างๆที่เกิดขึ้น ให้ค่าว่า สิ่งนั้นถูก สิ่งนี้ผิด สิ่งนั้นใช่ สิ่งนี้ไม่ใช่
เป็นการให้ค่าตามรู้สึกความชอบหรือชัง ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น

เนื่องจากไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงเรื่องเหตุที่กระทำและผลที่ได้รับ ไม่รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตเกิดจากอะไร
แล้วทำไมบางสิ่งที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อจิต เป็นเหตุให้เกิดความชอบ, ชัง ทำไมบางสิ่งไม่มีผลกระทบต่อจิต เป็นเหตุให้รู้สึกเฉยๆ

เพราะความไม่รู้ชัดในความเป็นจริงตรงนี้ จึงเป็นเหตุให้ก่อให้เกิดการกระทำลงไปด้วยความไม่รู้ที่ยังมีอยู่
ด้วยเจตนาและไม่เจตนาทางกาย วาจา ใจ(ความรู้สึกนึกคิด)


ส่วนการยืน เดิน นั่ง นอน ล้วนเป็นเรื่องปกติที่คิดว่าเรายืน เราเดิน เรานั่ง เรานอน
ตราบใดที่ยังมีสภาวะเป็นกายบัญญัติ ย่อมนึกคิดแบบนั้น จนกว่าจะเป็นสภาวะปรมัตถ์ ความรู้สึกนึกคิดตรงนี้จะไม่มี


แม้กระทั่งที่บอกว่ารูปเดิน รูปยืน รูปนั่ง รูปนอน ล้วนแต่เป็นบัญญัติที่ใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติทั้งสิ้น ไม่ใช่สภาวะตามความเป็นจริง
ถ้าเป็นสภาวะตามความเป็นจริงจะรู้แบบธรรมชาติ ไม่มีบัญญัติต่างๆเข้าไปเกี่ยวข้อง


ทำอย่างไรจึงจะละสักกายทิฏฐิได้

การละสักกายทิฏฐิมีวิธีเดียวเท่านั้น คือ การสร้างเหตุของการเกิดสภาวะสมุจเฉทประหาน ได้แก่ สมถะและวิปัสสนา





  • พลังน้ำใจ: 3387
ตอบกลับ #10 05 มกราคม 2015, 12:08:02น.
 s#y

  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #11 23 มกราคม 2015, 14:18:48น.
เก็บตัว

หลังจากที่มีผู้ไม่ประสงค์ออกนาม(มาสอนวิธีคำนวณถึงในฝัน แต่วลัยพรจำไม่ได้หรอก เขาถามว่า จำได้ไหม ตอบว่าจำได้ คือ ตอบไปแบบงั้นหละ ใจจริงไม่ได้สนใจ)
มอบเงินให้ไปทำบุญ(ถูกหวย) อันนี้ลองเล่นเอง(เลขที่คำนวณได้น่ะแหละ) เงินนี้ไม่เกี่ยวกับที่แฟนถูกด้วย อีกส่วนหนึ่ง

ส่วนความฝันนั้น บอกกับแฟนว่า ครั้งก่อนเป็นผู้หญิงมาสอน แต่ไม่ได้สนใจเช่นกัน กลับมาก็ได้วิธีคำนวณใหม่
ครั้งนี้ เป็นผู้ชายร่างเล็ก ตัวดำมาสอน บอกกับแฟนว่า สงสัยจะได้วิธีคำนวณใหม่ ก็เป็นไปตามนั้นจริงๆ

ขอแฟนไปวัด 4 วัน เพื่อตอบแทนคุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม
และต้องการพักผ่อนจิต หยุดเรื่องนอกตัวไว้ชั่วเวลาหนึ่ง

ได้พักอาคาร 4 ชั้น ห้อง 303 ขอพักคนเดียว
ห้องพักกว้างมาก มีพัดลมติดเพดาน มีห้องน้ำในตัว มีราวตากผ้าด้านหลัง
ได้เตรียมเสื้อผ้าไปพร้อม จึงไม่ต้องซัก

สภาพอากาศในห้อง เย็นมาก เหมือนอยู่ห้องแอร์
ไปวัดครั้งนี้ ได้พักผ่อนเต็มที่ งดช่วยแฟนคำนวณตัวเลขชั่วคราว

เรื่องทางโลก(ความโลภ) บอกตามตรง สภาพธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น
ไม่ทำให้หักเหออกจากเส้นทางที่เดินอยู่

เรื่องอยากได้ ไม่อยากได้ เป็นเรื่องธรรมดาของกิเลสที่มีอยู่
ได้มา ต้องเสียไป เป็นของคู่กัน เพียงแต่ว่า จะเสียไปทางไหนเท่านั้นเอง

ได้แบ่งเงินไปทำบุญสองพันบาทรวมกับผู้ที่โอนเข้าบ/ช มาร่วมทำบุญด้วยกัน
ที่เหลือสองพันกว่าบาทและเงินในบ/ช  เก็บไว้สำหรับทำบุญในครั้งต่อๆไป

รายการทำบุญ เลี้ยงภัตราหารพระภิกษุ สามเณร แม่ชี ผู้ปฏิบัติธรรม เป็นจำนวนเงิน 500 บาท
จ่ายค่าน้ำปานะ เป็นจำนวนเงิน 500 บาท
ค่าเดินทางไปกลับ 400 บาท
ชำระหนี้สงฆ์ 200 บาท
ถวายพระ สำหรับทำบุญหล่อพระ 200 บาท
 
 
ภาพรอก่อนนะ ภาพถ่ายตอนเช้า บรรยากาศยังค่อนข้างมืดอยู่
 
อาาคารเรือนไทย ใช้ไม้จากบ้านหลังเก่า(ทางวัดซื้อมา)
มีผู้ที่พักเรือนไทย เล่าให้ฟังว่า ผีดุมาก เหอๆๆๆๆๆๆ

ตึกที่วลัยพรไปพักก็เช่นกัน มีคนบอกเหมือนกัน
แต่วลัยพรฝันแค่เพียงว่า มีผู้ชายมาบอกว่า คนที่ขโมยกล่องใส่เงินชำระหนี้สงฆ์ มีรถขับมา

มีแต่ก่อนไปวัด ฝันว่า มีผีผู้ชายมาหลอก แลบลิ้นปลิ้นตา
เราก็แผ่เมตตาให้ ก็ไม่ไป สวดมนต์ให้ ก็ไม่ไป

ก็เลยนั้งสมาธิ ไม่สนใจ อยากทำอะไรก้ทำไป
สักพัก เขาล้มลง นอนขึ้นอืด น้ำเหลืองเต็มตัว









 
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 มกราคม 2015, 11:07:49น. โดย walaioo

  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #12 28 มกราคม 2015, 11:03:23น.
ปุจฉา

"เพราะวิปัสสนา..คือรู้ในอารมณ์ปัจจุบัน
สมถะ..คือเพ่งอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง จะได้สมาธิเร็วและง่ายดีกว่า"



วิสัชนา

เกี่ยวกับคำเรียกสภาพธรรมต่างๆ
หากต้องการศึกษาคำเรียกนั้นๆ ควรศึกษาจากพระธรรมคำสอน
ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงตรัสไว้

คำเรียก วิปัสสนา ความหมายของคำเรียกนี้ ที่มีปรากฏในปัจจุบัน
อย่างที่คุณนำมากล่าว"รู้อารมณ์ปัจจุบัน"

ความหมายนี้ เป็นการแต่งเติมขึ้นมาใหม่ ที่มีใช้ในปัจจุบัน กับกลุ่มคนบางกลุ่ม
ซึ่งไม่ใช่สภาพธรรม ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ตามพระธรรมคำสอน


เกี่ยวกับสมาธิ
สมาธิ ที่เรียกว่า สมถะ
มีลักษณะอาการ ที่เกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิ ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
บางที่นิยมใช้คำว่า ขาดธาตุรู้


สมาธิ ที่เรียกว่า วิปัสสนา
มีลักษณะอาการ ที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
เกิดขึ้นร่วมด้วย ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ ไม่ว่าสมาธิที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆ
มีกำลังมากแค่ไหนก็ตาม(ฌานทั้ง 8)


จึงต้องมีการสอบอารมณ์ เพื่อดูความรู้สึกตัว ขณะจิตเป็นสมาธิ
จึงเป็นที่มาของคำเรียก ญาณ 16


คำเรียก วิปัสสนา ที่มีใช้สอนในสำนักต่างๆ
ล้วนใช้เป็นอุบาย ในการปฏิบัติ


หากต้องการรู้ว่า คำเรียก วิปัสสนา ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
รากเหง้าแท้จริง มาจากไหน ควรศึกษาตำราจากพม่า

มูลเหตุทั้งหมด เกิดจาก ความหวังดี ของครูอาจารย์ในสมัยก่อน
เมื่อเห็นว่า สมถะ-วิปัสสสนา ถ้าให้จิตเป็นสมาธิขั้นอัปปนาสมาธิ(ฌาน)
พร้อมทั้งให้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เกิดขึ้นร่วมด้วยนั้น(จึงต้องมีการปรับอินทรีย์ ให้เดินก่อนนั่ง)

ค่อนข้างจะยุ่งยากสำหรับผู้ปฏิบัติจำนวนมาก ที่ชอบนั่ง มากกว่าเดิน
จึงนำอุบายเรื่อง ขณิกสมาธิ มาใช้สอน


ก็ในเมื่อ ให้ทำความเพียรถึงขั้น สมถะ-วิปัสสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
เป็นเรื่องที่อาจดูหนักหนาสาหัส สำหรับบางคน

จึงใช้อุบาย ขณิกสมาธิ มาสอน
นำเรื่องเกี่ยวกับ รูป-นาม มาสอน


ญาณ 16 มาจากไหน ก็มาจาก สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ(ฌานทั้ง 8)
เกี่ยวกับเรื่อง ญาณ 16 ก็มีที่มาจากพม่า ทั้งนั้น

เมื่อยังไม่รู้ ย่อมสนใจสิ่งต่างๆเหล่านี้ เป็นเรื่องธรรมดา
พอรู้ถึงจุดๆหนึ่ง ก็จะรู้เองว่า
ที่แท้ เป็นสภาพธรรม ที่มีเกิดขึ้น เป็นปกติ ขณะจิตเป็นสมาธิเท่านั้นเอง


ก็จะเลิกตื่นเต้น ติดใจ จนสำคัญว่า ได้อะไร เป็นอะไร
ซึ่งมีแต่การสร้างเหตุของการเกิด มากกว่า การกระทำเพื่อดับเหตุของการเกิด


ตราบใดที่ยังมีการพร่ำเรื่อง ญาณต่างๆ
พร่ำเรื่อง สันตติขาด ฆนบัญญัติแตก(นี่ก็เป็นความปกติของสภาพธรรม)
พร่ำกับคำเรียกที่สร้างขึ้นใหม่ ดัดแปลงจากพระธรรมคำสอน(ที่คิดเอาเองว่า ใช่)
บ่งบอกถึง ความติดใจ(นิกันติ) ในสภาพธรรมนั้นๆ


การปฏิบัตินั้น ขึ้นอยู่กับเหตุ(การกระทำ)
และปัจจัย(ตัวที่ก่อให้เกิดการกระทำ)ของแต่ละคน


ส่วนการศึกษาปริยัติต่างๆ
รู้ไว้ใช้ว่า ใส่บ่าแบกหาม
ถ้าเรียนเพื่อศึกษา เรียนเพื่อรู้ ไม่ใช่นำมาเทียบเคียงสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นกับตน เรียนแบบนี้ ไม่เป็นไร เป็นสัญญาติดไว้


หากเรียนรู้ ให้ความสำคัญมั่นหมายสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นในตน
คิดเอาเองว่า น่าจะเรียกแบบนั้น แบบนี้

สำคัญมั่นหมายว่า ได้อะไร เป็นอะไร
มีแต่การนำสิ่งที่เรียนรู้ มาสร้างเหตุภพชาติของการเกิด
เรียนแบบนี้ มีแต่เกิดกับเกิด

เรียนทั้งสองแบบ ถ้าชอบเรียน เรียนไปเถอะ
จงดูสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนชีพอยู่แท้ๆ
คนในสมัยนั้น ปฏิเสธรรมพระธรรมคำสอน สร้างรูปแบบการสอนขึ้นมาใหม่ ก็มีอยู่ แล้วสมัยนี้ จะไปเหลืออะไร


พระพุทธเจ้า จึงทรงเน้นการเรียนรู้ภายในกาย-ใจ เป็นหลัก
โดยให้มุ่งกระทำความเพียรอยู่ภายในกาย-จิต





  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #13 08 กุมภาพันธ์ 2015, 13:58:51น.
จิต

มีหลายๆครั้ง ที่วลัยพรมักจะอุทานว่า อะเมซิ่งๆๆๆๆ จิตนี้ช่างอะเมซิ่งจริงๆ ความอัศจรรย์แห่งจิต

จิตมีความลึกลับซับซ้อน ซ่อนความลับไว้มากมาย เป็นทั้งแหล่งการเรียนรู้
หลากหลายวิชาของการเรียนรู้ ทั้งทางโลก(การดำเนินชีวิต) และทางธรรม

ทางธรรม(วิถีแห่งการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์(การเกิด)
ถ้าจะเรียกให้ตรงกับพระธรรมคำสอน เรียกว่า กระทำเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน(การไม่เกิด)

ทั้งสองสิ่งนี้ ต้องอาศัยสภาพธรรมที่เหมือนๆกัน คือ การปรารภความเพียร
เพียรเดิมๆ ซ้ำๆ เรื่องราวเดิมๆ ความรู้สึกเดิมๆ วังวนของกิเลส รัก โลภ โกรธ หลง หมุนวนอยู่ในโลกธรรม ๘


ชีวิตของแต่ละคน จะมีความเป็นไปอย่างไรนั้น
ขึ้นอยู่กับ การกระทำของแต่ละคน ที่กระทำตามแรงผลักดันของกิเลส ที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ
หลงกระทำออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น(สร้างเหตุ)  เหตุปัจจัยจาก ความไม่รู้ที่มีอยู่

การกระทำตามแรงผลักดันของกิเลส เกิดจาก ความไม่รู้ที่มีอยู่
สิ่งแรก คือ ความไม่รู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งมีคำเรียกว่า ผัสสะ

เมื่อไม่รู้ชัดใน ผัสสะ ที่เกิดขึ้นว่า
เพราะอะไรเป็นเหตุปัจจัยให้ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น มีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและไม่มีมีผลต่อความรู้สึกนึกคิด

เมื่อไม่รู้ ย่อมหลงกระทำตามแรงผลักดันของกิเลส ที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ
เมื่อไม่รู้ ย่อมกล่าวโทษนอกตัว โทษคนนั้น คนนี้  โทษกิเลสบ้าง
โทษจิตบ้าง จิตมันโง่ ไม่มีใครทำ สุดท้ายโยนให้จิตว่า ทั้งหมดเป็นเรื่องของจิต

นี่แหละ เหตุปัจจัยจาก ความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น
จึงกล่าวโทษนอกตัว แทนที่จะโทษตัวเอง ตัวกรู ของกรูที่มีอยู่  ล้วนเกิดจากความไม่รู้ที่มีอยู่










พึงดำรงตน อยู่ในความลำบาก

ทางโลก หมายถึง ลำบากใจ การกดข่มใจ พยายามไม่สร้างเหตุ ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ใน ผัสสะ(สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต) ที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ

ทางธรรม หมายถึง ความลำบากใจ เกี่ยวกับการปรารภความเพียร ที่เกิดจาก เหตุและปัจจัย ที่มีอยู่
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 กุมภาพันธ์ 2015, 14:15:14น. โดย walaioo

สมาชิกระดับGolden *
  • พลังน้ำใจ: 72798
ตอบกลับ #14 08 กุมภาพันธ์ 2015, 15:56:22น.
ทักทายยามใกล้เพลาเย็นครับ

|"@ |"@ |"@ |"@ |"@ |"@

  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #15 13 กุมภาพันธ์ 2015, 07:51:56น.
การเขียนสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นในตน
จะทำให้เป็นคนช่างสังเกตุ มีความละเอียดรอบครอบมากขึ้น

จะทำให้เห็นรายละเอียดสภาพธรรมต่างๆมากขึ้น
(อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยของแต่ละคนด้วย)

วันนี้ รู้แบบนี้ วันต่อไป รู้แบบนี้
เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง จะทำให้รู้ว่า เป็นความปกติของสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น
ความยึดมั่นถือมั่นในคำเรียก และสภาพธรรมต่างๆ จะลดน้อยลงไปเอง ตามเหตุปัจจัย


สภาพธรรมต่างๆ ที่มีเกิดขึ้นภายใน จะมีรายละเอียดมาก
ซึ่งสภาพธรรมทั้งหมด ที่มีเกิดขึ้น แท้จริงแล้ว เป็นเพียงเรื่องเกี่ยวกับผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นเท่านั้นเอง






  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #16 14 กุมภาพันธ์ 2015, 12:50:35น.
สิ่งที่ควรรู้และควรจำ

การดูสภาพธรรมของผู้อื่น ให้ดูการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ ดูวิธีการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์นั้น ทำแบบไหน
ไม่ใช่จ้องดูกิเลส แล้วนำไปเปรียบเทียบ หาข้อเปรียบเทียบ หาข้อคิดเห็น ตามที่คิดเอาเองว่า น่าจะเป็นแบบนั้น แบบนี้

การกระทำแบบนี้(การเปรียบเทียบ) มีแต่การสร้างเหตุให้เนิ่นนาน มีแต่เหตุปัจจัยให้เกิดความฟุ้ง ปรุงแต่ง
ซึ่งมีผลต่อการปฏิบัติ หากมีสภาพใดเกิดขึ้น ความที่ไม่เคยพบเจอ เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่ ทำให้เกิดความหลง ความพอใจ กับสภาพธรรมที่เกิดขึ้น


การทำความเพียร กระทำเพื่อดับ ที่ยังมีความมี ความเป็นนั่นเป็นนี่ ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีอยู่
อวิชชาที่มีอยู่ วิจิกิจฉาที่มีอยู่ กิเลสทั้งหลายที่มีอยู่ มีมาก เป็นปัจจัยให้เกิดการสร้างเหตุ

ความสำคัญทั้งหมด ไม่ใช่กิเลส ที่เป็นตัวให้เกิดการสร้างเหตุ
แต่เป็นเพราะ อวิชชาที่มีอยู่ เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงหลงกระทำ
หลงสร้างเหตุทั้งภายนอก(สร้างเหตุนอกตัว ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น


ทั้งภายใน สภาพธรรมต่างๆที่มีเกิดขึ้น เมื่อไม่รู้ว่า เกิดจากอะไรเป็นเหตุปัจจัย นิกันติ (ความยินดี ความพอใจ)
ตัณหา (ความติดใจในสภาพธรรมที่เกิดขึ้น) จึงบังเกิดขึ้นพร้อมมูล เพราะเหตุนี้ เหตุปัจจัยจากอวิชชาตัวเดียวเท่านั้น


หากรู้เท่าทันต่อสภาพธรรมที่เกิดขึ้น รู้ว่า เกิดขึ้นจากอะไรเป็นเหตุปัจจัย
ย่อมพยายามหยุดมากกว่าจะปล่อยไหลตามกิเลสที่เกิดขึ้น


หากรู้ว่า สภาพธรรมต่างๆที่มีเกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายใน ที่มีเกิดขึ้น
ขณะจิตเป็นสมาธิ และไม่เป็นสมาธิ ว่าอะไรเป็นเหตุปัจจัย ให้สภาพธรรมเหล่านั้นบังเกิดขึ้น

หากรู้แล้ว ย่อมไม่ติดใจ เมื่อไม่ติดใจ กิเลสก็ทำอะไรไม่ได้
สักแต่ว่า มีกิเลสเกิดขึ้นเท่านั้นเอง สภาพธรรมที่เกิดขึ้น ก็จบลงแค่ตรงนั้น


ภาษาต่าง คำเรียกต่างๆ จะเรียกว่าอะไรก็ตาม เป็นเพียงการสมมุติขึ้นมา
 เพื่อใช้ในการสื่อสารตามสภาพสังคมนั้นๆ


สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง เป็นเพียงผัสสะที่เกิดขึ้น
เกิดเพราะเหตุ ดับเพราะเหตุ ที่เกินจากนั้น ล้วนเกิดจากความไม่รู้ที่มีอยู่


วิธีที่จะรู้คำเรียกต่างๆ สมควรกระทำมากที่สุด
ควรศึกษาพระธรรมคำสอน จากพระไตรปิฎก (สำหรับผู้มีสัญญามาก มักสนใจกับความหมาย คำเรียกต่างๆ)
ส่วนคำที่บอกเล่ากันมา ใครเชื่อใคร ไม่เชื่อใคร ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีต่อกัน


สิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเน้นนักหนา แก่นแท้พระธรรมคำสอน
ทรงเน้นเรื่อง การปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน(การไม่เกิด) ไม่ใช่ความเป็นนั่น เป็นนี่ในสมมุติ








  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #17 23 กุมภาพันธ์ 2015, 09:33:52น.
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=77UCWq5DpC4" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=77UCWq5DpC4</a>

  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #18 02 มีนาคม 2015, 09:06:58น.
บททดสอบ


เรียนใน รู้นอก เรียนนอก รู้ใน สภาพธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น มาสอนให้รู้แบบนั้น




  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #19 11 มีนาคม 2015, 11:58:18น.
รู้สึกเครียด


เป็นคนที่ค่อนข้างแคร์ความรู้สึกของผู้อื่น
อะไรที่ใส่ใจมากเกินไป ทำให้รู้สึกเครียด

บางครั้ง ก็ลืมวัตถุประสงค์ ที่ตั้งใจไว้แต่แรกว่า ตั้งกระทู้เพื่ออะไร
หากทำเหมือนคนอื่นๆที่เขาทำกัน คงไม่ต้องรู้สึกอะไร
กล่าวคือ ไม่มีการตอบหรือทักทายกับใครๆ


เหตุจาก สายสัมพันธ์ ที่มีต่อกัน
จึงทำให้รู้สึกเครียด

เมื่อมีเข้ามาให้กำลังใจ และทักทาย
แต่วลัยพรแทบจะไมไ่ด้ทักทายใคร ส่วนมากให้กำลังน้ำใจตอบแทนกลับไป

เรื่องนี้เคยพูดให้แฟนฟัง
แฟนบอกว่า ก็บอกแล้วว่า อย่าตั้งกระทู้
พอตั้งกระทู้แล้ว ย่อมมีสายสัมพันธ์ต่อกัน

แล้ววลัยพรเป็นคนที่ค่อนข้างแคร์ เอาใจใส่ต่อความรู้สึกของคนอื่น จึงทำให้เป็นแบบนี้
หากไม่รู้สึกอะไรด้วย ก็คงไม่เป็นแบบนี้

คิดทบทวน จึงคิดว่า ลบกระทู้ดีกว่า
ถ้าต้องการแบ่งปันข้อมูล นำไปโพสที่ห้องหวยซองแทน

ลบกระทู้เอง ก็ลบไม่เป็น
แจ้งผู้ดูแลบอร์อดไปแล้วว่า กรุณาช่วยลบกระทู้ให้ด้วย


รู้สึกสบายใจขึ้น   
ไม่งั้น เครียดจริงๆ   H]#

รองผู้อำนวยการบอร์ด *
  • พลังน้ำใจ: 60041
ตอบกลับ #20 12 มีนาคม 2015, 20:52:52น.

สวัสดีครับ  ..  คุณวลัยพร  $|8  ขอบคุณสำหรับน้ำใจไมตรีที่ร่วมแบ่งปัน คติธรรมะสอนใจ  P|P





<a href="http://www.swfcabin.com/swf-files/1397913835.swf" target="_blank" class="new_win">http://www.swfcabin.com/swf-files/1397913835.swf</a>

  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #21 17 มีนาคม 2015, 19:14:39น.
การเรียนรู้

ทุกสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
เมื่อรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เกิดขึ้นว่า เกิดจากอะไรเป็นเหตุปัจจัย ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

การทำความเพียรที่มีอยู่ จึงเป็นไปเพื่อ การลด ละ ในเหตุปัจจัย ที่มีอยู่

การจะรู้ชัดตามความเป็นจริง ของความยึดมั่นถือมั่น จะค่อยๆรู้
เริ่มจาก รู้แบบหยาบๆ รู้ทีละนิด

เมื่อตั้งใจลด ละ ในเหตุปัจจัยที่มีอยู่
จะค่อยๆรู้ชัดในรายละเอียดต่างๆ มากขึ้น


การคำนวณ

เกี่ยวกับ "หวย" หากใครนึกคิดอย่างไร
อาจจะคิดว่า เป็นการมอมเมา อย่างหนึ่ง
อาจจะคิดว่า เป็นมิจฉาอาชีโว อย่างหนึ่ง(สำหรับผู้ประกอบเป็นอาชีพ)

ที่เกิดความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับ "หวย" อย่างไร นั้น
ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีอยู่ ของแต่ละคน
และที่กำลังกระทำให้เกิดขึ้นใหม่ คือ กล่าวโทษนอกตัว(หวย)

มอมเมา หรือไม่มอมเมา ล้วนเกิดจากการกระทำของตัวเอง
เกิดจากความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงก่อให้เกิดการกระทำ
 
หากรู้แล้วว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต เกิดจากอะไรเป็นเหตุปัจจัย
การกล่าวโทษ ย่อมลดน้อยลงไปตามเหตุและปัจจัย


สำหรับวลัยพรแล้ว ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับ"หวย"
เพื่อช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระของคู่ครอง(ช่วยคำนวณ)
ไม่ได้ทำเพราะ ความอยากได้อย่างแรงกล้า

แฟนเลิกเล่นเมื่อไหร่ เขาคงเลิกคำนวณ
วลัยพรก็ไม่ต้องทำหน้าที่นี้อีก

 




  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #22 17 มีนาคม 2015, 19:25:30น.
ของฟรีไม่มีในโลก

ได้มา ย่อมเสียไป เพียงแต่จะเสียไปทางไหนเท่านั้นเอง

ความผิดพลาดในแต่ละครั้ง
เมื่อกลับไปทบทวนการคำนวณ เล่นเอาเหวอเหมือนกัน

การคำนวณ ต้องระวังทุกฝีก้าว ต้องละเอียด
ไปๆมาๆ เกี่ยวกับการคำนวณหวย ที่นำข้อมูลจากหนังสือ มาคำนวณ(ไม่ใช่โปรแกรมสูตร)

การคำนวณตัวเลข ที่เกี่ยวข้องกับหวย
ก็สามารถทำให้กลายเป็นคนที่มีความละเอียดรอบครอบมากขึ้น(ไม่อยากเสียทรัพย์ ถึงจะเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการคำนวณ ก็ไม่อยากเสีย)

มีคนในกลุ่ม ที่ติดตามวลัยพรอยู่(ไม่ใช่เว็บนี้)
เมื่อก่อนคำนวณคนเดียว มีตกๆหล่นๆ


ตอนนี้ปรับเปลี่ยนใหม่ ก็ในเมื่อเขารอข้อมูลจากเรา
เราก็ต้องให้เขาช่วยตรวจสอบตัวเลข ที่นำมาคำนวณ

โอกาสตกหล่น หรือมีเกิน จากที่คำนวณ(เลขไม่มีในกลุ่ม แต่ใส่ลงไปเอง/เผลอ)
การผิดพลาด ย่อมลดน้อยลง หากมีคนช่วยตรวจทานซ้ำให้อีกที

ต้องช่วยกันทำมาหากิน
หากไม่ช่วยกัน เมื่อไม่ถูกขึ้นมา จะมีกล่าวโทษกันได้

ก็ให้รู้ไปเลยว่า ตัวเลขที่ใช้ มีอะไรบ้าง
ผลของการคำนวณเป็นแบบไหน ช่วยกันตรวจทานให้อีกที

วลัยพรก็ต้องระวังมากขึ้น
บางครั้ง ยังมีเผลออยู่ เหมือนหลงตา มองไม่เห็น



เกี่ยวกับ หวย
สำหรับวลัยพรแล้ว หวย

หากเรามองเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริง หวยก็เป็น ธรรมะ อย่างหนึ่งเหมือนกัน
คือ มาสอนไม่ให้ประมาท การคำนวณ ทำให้เป็นคนละเอียดรอบครอบ





แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2015, 19:28:58น. โดย walaioo

  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #23 20 มีนาคม 2015, 11:14:57น.
สภาวะ


สิ่งที่ควรรู้ ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ของคำ ที่เรียกว่า สภาวะ

คำว่า สภาวะ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต ประจำวัน ในแต่ละขณะ

ไม่ว่าสิ่งนั้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด หรือ ไม่มีความรู้สึกนึกคิด เกิดขึ้น ก็ตาม
ตั้งแต่ลืมตาตื่น จนกระทั่งหลับ ขณะที่กำลังหลับ  และที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่


สิ่งที่เรียกว่า สภาวะ เป็นลักษณะอาการที่เกิดขึ้น
ที่มีสภาพธรรมตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ

ตามคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทิ้งเป็นแนวทางไว้
เป็นร่องรอย ซึ่งมีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก จนถึงปัจจุบันนี้


การเริ่มต้นแกะรอย ตามคำสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเริ่มต้นจาก ผัสสะ

เนื่องจาก ผัสสะ เป็นจุดเริ่มต้น
ของการสร้างเหตุแห่งภพชาติปัจจุบัน ให้เกิดขึ้น

และผลของการสร้างเหตุภพชาติปัจจุบัน ให้เกิดขึ้น
เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิดการเวียนว่าย ในสังสารวัฏฏ์


หากจะแก้ ให้แก้ที่ต้นเหตุ คือ แก้ที่ปัจจุบัน(ธรรมปัจจุบัน ได้แก่ ผัสสะ)
ได้แก่ การดับเหตุปัจจัย ที่ทำให้เกิด การสร้างเหตุภพชาติปัจจุบัน ให้เกิดขึ้น กล่าวคือ

การไม่สร้างเหตุออกไป(วจีกรรม กายกรรม) ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น จาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย

มโนกรรม(ความรู้สึกนึกคิด) เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีอยู่(สังโยชน์) ห้ามไม่ได้
แค่รู้ว่า มีอยู่วจีกรรม กายกรรม สามารถห้ามได้ หากรู้ชัด ในผัสสะที่เกิดขึ้น


ฉะนั้น จึงควรเริ่มต้นศึกษาที่ ผัสสะ ว่าเพราะอะไร เป็นเหตุปัจจัย

เมื่อมีผัสสะเกิด  ทำไม สิ่งที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด และ ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
ทั้งที่บางครั้ง สิ่งที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งเดียวกันแท้ๆ แค่มีเกิดขึ้นคนละขณะ



การเริ่มต้นศึกษา ควรเริ่มต้นจาก คำสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทิ้งเป็นแนวทางไว้ให้
เกี่ยวกับว่าด้วย ผัสสะ และอุบาย ที่ใช้เป็นเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสะ ที่เกิดขึ้น

การกระทำ เพื่อดับเหตุแห่งทุกข์
และกระทำเพื่อให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์
จึงเริ่มต้นที่ ผัสสะ




ผัสสายตนสูตรที่ ๓


[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง

พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกล จากธรรมวินัยนี้



เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรมวินัยนี้
เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ

พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ


 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=990&Z=1026&pagebreak=0





  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #24 18 เมษายน 2015, 17:03:03น.
มหันตภัยของการเกิด ได้แก่ อวิชชา

กิเลส ไม่ได้เป็นภัยของการเกิด
เป็นเพียงปลายเหตุ


ตัณหา เป็นตัวแปรของทุกเรื่องราวที่มีเกิดขึ้นในชีวิต







  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #25 28 เมษายน 2015, 08:40:52น.
ภาษาบาลี

เมื่อวานเปิดอ่าน สมถะ-วิปัสสนา ในพระไตรปิฎก ที่มีอยู่ในเนต เจอเป็นภาษาบาลี นั่งอ่านทีละหัวข้อ

แฟนมองอยู่ เขาถามว่า วลัยพรอ่านออกเหรอ (ประมาณว่า ไม่เคยเรียนภาษาบาลีมาก่อน แล้วจะอ่านออกได้ยัง)

เราบอกว่า หากอ่านอรรถกถา ที่แปลภาษาบาลีบ่อยๆ และ ความรู้ชัดในสภาพธรรมที่เกิดขึ้น การอ่านภาษาบาลีจึงไม่ใช่เรื่องยาก คำบางคำ ตรงกับสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องแปล

เขาบอกว่า นี่ต้องเปรียญ ๙ ประโยคเชียวนะ

เราหัวเราะเขา ไม่พูดอะไรต่อ

คือ มันเป็นความปกติที่มีเกิดขึ้นของความรู้ชัดในสภาพธรรมต่างๆ
การรู้ภาษาที่ไม่เคยร่ำเรียนมาก่อน เมื่อถึงเวลา จะมีเหตุให้รู้เอง
จึงไม่จำเป็นต้องไปขวนขวายกับเรื่องนอกตัว รู้อยู่ในตัวนี่แหละ
หากรู้ได้ จะทำให้ รู้ภายนอก เหมือนๆกันหมด ซึ่งแตกต่างกันเพียงรูป ที่ปรากฏ

การรู้อยู่ในตัว หากรู้ได้เนืองๆ จะทำให้เกิดการละ และมีเหตุให้ได้ละ ในเหตุและปัจจัยที่มีอยู่
จบจากเรื่องนี้ เรื่องใหม่มาต่อ จบไปทีละขณะๆ

ลองคิดดู เราเวียนว่ายตายเกิดมาเท่าไหร่
เราหลงสร้างเหตุกับผู้อื่น ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นไปเท่าไหร่ คำนวณไม่ได้เลย

นั่นแหละ คือ สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต ที่มีผลกระทบทางใจ
ล้วนเป็นสิ่งที่เคยกระทำไว้ทั้งนั้น

เหตุจากความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น
เมื่อเป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกนึกคิด จึงหลงกระทำตามกิเลส
โดยมีตัณหา ความทะยานอยาก เป็นตัวผลักดัน
ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไป ทางวาจาบ้าง ทางกายบ้าง
สิ่งที่เรียกว่า ชาติ จึงมีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้


ภพชาติการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ จึงมีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้
เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่






  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #26 03 พฤษภาคม 2015, 10:43:31น.
ปุจฉา ใครคือพ่อแม่ที่แท้จริงของเรา

วิสัชนา เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เป็นเรื่องของอวิชชา ที่มีอยู่



ปฏิจจสมุปบาท
อิธะ ภิกขะเว
ภิกษุทั้งหลาย !

อะริยะสาวะโก
ปะฏิจจะสะมุปปาทัญเญวะ
สาธุกัง โยนิโสมะนะสิกะโรติ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจ
โดยแยบคายเป็นอย่างดี
ซึ่ง ปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว

ดังนี้ว่า




อิมัสมิง สะติ อิทัง โหติ
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี

อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้
สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

อิมัสมิง อะสะติ อิทัง นะ โหติ
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี

อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้
สิ่งนี้จึงดับไป

ยะทิทัง
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ




อะวิชชาปัจจะยา สังขารา
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย
จึงมีสังขารทั้งหลาย

สังขาระปัจจะยา วิญญาณัง
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย
จึงมีวิญญาณ

วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย
จึงมีนามรูป

นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย
จึงมีสฬายตนะ

สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย
จึงมีผัสสะ

ผัสสะปัจจะยา เวทะนา
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย
จึงมีเวทนา

เวทะนาปัจจะยา ตัณหา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา

ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน

อุปาทานะปัจจะยา ภะโว
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงมีภพ

ภะวะปัจจะยา ชาติ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย
จึงมีชาติ

ชาติปัจจะยา
ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะ
ทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ
ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ
ทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน

เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ
ทุกขักขันธัสสะ สะมุทะโย โหติ
ความเกิดขึ้นพร้อม
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้




อะวิชชายะเตววะ
อเสสะวิราคะนิโรธา สังขาระนิโรโธ
เพราะความจางคลายดับไป
โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว
จึงมีความดับแห่งสังขาร

สังขาระนิโรธา วิญญาณะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งสังขาร
จึงมีความดับแห่งวิญญาณ

วิญญาณะนิโรธา นามะรูปะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ
จึงมีความดับแห่งนามรูป

นามะรูปะนิโรธา สะฬายะตะนะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งนามรูป
จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ

สะฬายะตะนะนิโรธา ผัสสะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ
จึงมีความดับแห่งผัสสะ

ผัสสะนิโรธา เวทะนานิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ
จึงมีความดับแห่งเวทนา

เวทะนานิโรธา ตัณหานิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งเวทนา
จึงมีความดับแห่งตัณหา

ตัณหานิโรธา อุปาทานะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งตัณหา
จึงมีความดับแห่งอุปาทาน

อุปาทานะนิโรธา ภะวะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน
จึงมีความดับแห่งภพ

ภะวะนิโรธา ชาตินิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งภพ
จึงมีความดับแห่งชาติ

ชาตินิโรธา
ชะรามะระณัง โสกะ ปะริเทวะ
ทุกขะโทมะนัสสุปายาสา นิรุชฌันติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล
ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ
ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ
ทั้งหลายจึงดับสิ้น

เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ
ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหตีติ
ความดับลง
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

ดังนี้


สาธยายธรรม – บทสวดปฏิจจสมุปบาท
( หน้า ๒๒ – ๒๘ )


http://www.buddha-quote.com/?p=22

  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #27 03 พฤษภาคม 2015, 10:44:09น.
ภัยในอนาคต ๕ ประการ

การทำความเพียร
แข่งกับอนาคตภัย


ภิกษุทั้งหลาย !
ภัยในอนาคตเหล่านี้ มีอยู่ ๕ ประการ
ซึ่งภิกษุผู้มองเห็นอยู่
ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเผากิเลส
มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้น
อยู่ตลอดไป

เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว

ภัยในอนาคต ๕ ประการนั้น
คืออะไรบ้างเล่า ?



ห้าประการ คือ

( ๑ ) ภิกษุในกรณีนี้
พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า
บัดนี้เรายังหนุ่ม ยังเยาว์วัย
ยังรุ่นคะนอง มีผมยังดำสนิท
ตั้งอยู่ในวัยกำลังเจริญ คือ ปฐมวัย

แต่จะมีสักคราวหนึ่ง
ที่ความแก่จะมาถึงร่างกายนี้
ก็คนแก่ถูกความชราครอบงำแล้ว
จะมนสิการถึงคำสอน
ของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น
ไม่ทำได้สะดวกเลย

และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด
ซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย

ก่อนแต่สิ่ง
อันไม่เป็นที่ต้องการ
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ
( คือความแก่ )
นั้นจะมาถึงเรา

เราจะรีบทำความเพียร
เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว

ซึ่งเป็น สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว

ซึ่งเป็น สิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว
แม้จะแก่เฒ่าก็จักอยู่เป็นผาสุก ดังนี้




( ๒ ) ภิกษุทั้งหลาย !
ข้ออื่นยังมีอีก
ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า
บัดนี้เรามีอาพาธน้อย มีโรคน้อย
มีไฟธาตุให้ความอบอุ่นสม่ำเสมอ
ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก พอปานกลาง
ควรแก่การทำความเพียร

แต่จะมีสักคราวหนึ่ง
ที่ความเจ็บไข้จะมาถึงร่างกายนี้
ก็คนที่เจ็บไข้ถูกพยาธิครอบงำแล้ว
จะมนสิการถึงคำสอน
ของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น
ไม่ทำได้สะดวกเลย

และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด
ซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย

ก่อนแต่สิ่ง
อันไม่เป็นที่ต้องการ
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ
( คือความเจ็บไข้ )
นั้นจะมาถึงเรา

เราจะรีบทำความเพียร
เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว

ซึ่งเป็น สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว

ซึ่งเป็น สิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว
แม้จะเจ็บไข้ก็จักอยู่เป็นผาสุก ดังนี้



( ๓ ) ภิกษุทั้งหลาย !
ข้ออื่นยังมีอีก
ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า
บัดนี้ข้าวกล้างามดี
บิณฑะ หาได้ง่าย
เป็นการสะดวกที่จะยังชีวิตให้เป็นไป
ด้วยความพยายามแสวงหาบิณฑบาต

แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่
ภิกษาหายาก ข้าวกล้าเสียหาย
บิณฑะหาได้ยาก
ไม่เป็นการสะดวกที่จะยังชีวิตให้เป็นไป
ด้วยความพยายามแสวงหาบิณฑบาต

เมื่อภิกษาหายาก
ที่ใดภิกษาหาง่าย
คนทั้งหลายก็อพยพกันไป ที่นั้น

เมื่อเป็นเช่นนั้น
ความอยู่คลุกคลีปะปนกันในหมู่คนก็จะมีขึ้น
เมื่อมีการคลุกคลีปะปนกันในหมู่คน
จะมนสิการถึงคำสอน
ของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น
ไม่ทำได้สะดวกเลย

และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด
ซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย

ก่อนแต่สิ่ง
อันไม่เป็นที่ต้องการ
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ
( คือภิกษาหายาก )
นั้นจะมาถึงเรา

เราจะรีบทำความเพียร
เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว

ซึ่งเป็น สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว

ซึ่งเป็น สิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว
จักอยู่เป็นผาสุก
แม้ในคราวที่เกิดทุพภิกขภัย ดังนี้




( ๔ ) ภิกษุทั้งหลาย !
ข้ออื่นยังมีอีก
ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า
บัดนี้ คนทั้งหลายสมัครสมาน
ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน
เข้ากันได้ดุจดั่งนมผสมกับน้ำ
มองแลกันด้วยสายตาแห่งคนที่รักใคร่กัน
เป็นอยู่

แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่
ภัย คือ โจรป่ากำเริบ
ชาวชนบทผู้ขึ้นอยู่ในอาณาจักร
แตกกระจัดกระจายแยกย้ายกันไป

เมื่อมีภัยเช่นนี้
ที่ใดปลอดภัย
คนทั้งหลายก็อพยพกันไป ที่นั้น

เมื่อเป็นเช่นนั้น
ความอยู่คลุกคลีปะปนกันในหมู่คนก็จะมีขึ้น
เมื่อมีการอยู่คลุกคลีปะปนกันในหมู่คน
จะมนสิการถึงคำสอน
ของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น
ไม่ทำได้สะดวกเลย

และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด
ซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย

ก่อนแต่สิ่ง
อันไม่เป็นที่ต้องการ
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ
( คือโจรภัย )
นั้นจะมาถึงเรา

เราจะรีบทำความเพียร
เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว

ซึ่งเป็น สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว

ซึ่งเป็น สิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว
จักอยู่เป็นผาสุก
แม้ในคราวที่เกิดโจรภัย ดังนี้




( ๕ ) ภิกษุทั้งหลาย !
ข้ออื่นยังมีอีก
ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า
บัดนี้สงฆ์สามัคคีปรองดองกัน
ไม่วิวาทกัน มีอุเทสเดียวกัน
อยู่เป็นผาสุก

แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่
สงฆ์แตกกัน

เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว
จะมนสิการถึงคำสอน
ของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น
ไม่ทำได้สะดวกเลย

และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด
ซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย

ก่อนแต่สิ่ง
อันไม่เป็นที่ต้องการ
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ
( คือสงฆ์แตกกัน )
นั้นจะมาถึงเรา

เราจะรีบทำความเพียร
เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว

ซึ่งเป็น สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว

ซึ่งเป็น สิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว
จักอยู่เป็นผาสุก
แม้ในคราวเมื่อสงฆ์แตกกัน ดังนี้



ภิกษุทั้งหลาย !
ภัยในอนาคต ๕ ประการเหล่านี้แล
ซึ่งภิกษุผู้มองเห็นอยู่
ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเผากิเลส
มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้น
อยู่ตลอดไป

เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ( ภาคปลาย )
การทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย
( หน้า ๑๑๕๘ – ๑๑๖๑ )

  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #28 13 พฤษภาคม 2015, 16:30:25น.
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=I069GnrWYc8" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=I069GnrWYc8</a>

  • พลังน้ำใจ: 4019
ตอบกลับ #29 03 มิถุนายน 2015, 09:36:21น.
หิริ โอตัปปะ

หิริ โอตัปปะ : ความละอายและความเกรงกลัวต่อบาปทั้งต่อหน้า และลับหลัง

หิริ เป็นธรรมรักษาคุ้มครองโลก ทำให้โลกเกิดสันติ ทำให้คนเราอยู่กันอย่างสงบสุข
เพราะคนที่มีหิริจะเกลียดความชั่ว และละอายที่จะทำความชั่วทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทำให้ไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่โลกและสรรพสัตว์ทั้งปวง

หากเราคิดจะทำสิ่งใดที่ชั่ว ความละอายจะเกิดขึ้นมาในใจ แม้ว่าคนอื่นจะไม่เห็น คิดทำชั่วคืออย่างไร
คือถ้าเราทำอะไรลงไป ถ้าหากว่ามันไม่ถูกต้องแล้วมันรู้สึกจะละอายในใจตนเอง

แต่ตามหลักท่านบอกว่านักปราชญ์ทั้งหลายไม่สรรเสริญ ไม่นิยม นั่นเรียกว่า ผิดจากธรรม
ความละอายนี่แหละเป็นต้นเหตุให้ทำความดี ความดีทั้งหมดเกิดจากความละอายทั้งนั้น ความไม่ดีเกิดจากความไม่ละอายนั่นเอง
ศีล ๕ ข้อมีความละอายเป็นเบื้องต้น เป็นสมุฏฐาน หากว่ามีความละอายในใจแล้วไม่กล้าทำ ศีลข้อนั้นก็งดเว้นได้หมด

โอตตัปปะ (อ่านว่า โอดตับปะ) แปลว่า ความเกรงกลัว หมายถึงความสะดุ้งกลัวต่อผลของความชั่ว ต่อผลของความทุจริตที่ทำไว้

โอตตัปปะ เป็นอาการของจิตที่หวั่นไหวเมื่อจะทำความชั่ว เพราะกลัวความผิดที่จะตามให้ผลในภายหลัง
เกิดขึ้นได้เพราะคิดถึงโทษหรือความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นจากการทำชั่ว จากการประพฤติทุจริตของตน
เช่น ตัวเองเองต้องเดือดร้อน เกิดความเสียหาย เสียทรัพย์สินเงินทอง เสียอิสรภาพ หรือถูกคนอื่นตำหนิติเตียน ถูกสังคมรังเกียจ เป็นต้น

โอตตัปปะ เป็นธรรมคุ้มครองโลกคู่กับหิริ เพราะคนที่มีโอตตัปปะย่อมกลัวที่จะทำความผิด
ทำให้งดเว้นจากการประพฤติต่างๆ ได้ อันเป็นเหตุให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข



ชาดก 500 ชาติ
โมรณัจจชาดก ว่าด้วยผู้ขาดหิริโอตัปปะ



ครั้นเมื่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธรัฐแล้ว
ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จจากนครราชคฤห์ อันมีฉายาว่าเบญจคีรี ที่มีภูเขาทั้ง 5
เป็นปราการมาประทับยังนครสาวัตถีในแคว้นโกศลนั้น แสงธรรมจากพระพุทธองค์ก็ส่องรัศมีกระจ่างไปทั่วแผ่นดินอนุทวีปให้พลังแก่ชีวิตดุจกันกับแสงทินกร


เวลานั้นกุลบุตรจากทุกตระกูลหลั่งไหลกันเข้าบวชในพระพุทธศาสนาเพราะสัจธรรมอันวิเศษเป็นจำนวนมาก
“หากเราได้บวชแล้วจิตใจเราคงสงบมากกว่านี้แน่ อยากจะบวชเร็วๆ จังเลย
การรักษาศีล ฟังธรรม จิตใจช่างสงบดีแท้ หากเราบวชแล้วประพฤติธรรม จิตใจคงสงบมากกว่านี้"


นอกจากนี้ก็ยังมีสมณะนักบวชหลายนิกาย เมื่อนำเอาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเปรียบเทียบกับความเชื่อของตน
ก็บังเกิดปีติ หันมาถือศีล ปฏิบัติธรรมวินัย จนพระเชตะวันมหาวิหารมากมายไปด้วยสงฆ์สาวก


เช่นกันกับชายตระกูลพราหมณ์คนหนึ่ง เมื่อมีโอกาสมาฟังธรรมเทศนาก็รู้สึกสงบมีความสุขใจ จึงรอโอกาสมาบวชอยู่เช่นกัน
“บัดนี้ เมื่อภรรยาเราตายจากไปแล้ว เราก็คงหมดห่วงหมดกังวลกับทางโลกแล้ว เราคงถึงเวลาเข้าสู่ร่มกาสาวพัตรตามความต้องการเสียที”
พราหมณ์ผู้นี้มีฐานะดี กินอยู่สุขสบายจนเป็นนิจ จึงเตรียมเครื่องอำนวยความสะดวกไปใช้เป็นอย่างมาก


“เอ เตรียมของครบหรือยังหน๊า กานี้สำหรับต้มน้ำ เหยือกนี้ไว้ใส่น้ำดื่มกิน อาหารเสริมก็มีแล้ว ทำไมตะกร้ายังดูโล่งๆ ขาดอะไรอีกหน๊า”
นอกจากเตรียมเครื่องบริขารเกินจำเป็นแล้ว ก่อนเข้าเฝ้าขออุปสมบท พราหมณ์ยังนำช่างไปก่อสร้างกุฏิ โรงครัวส่วนตัว รอไว้ครบถ้วน


“เอาล่ะๆ เสร็จแล้วก็มาเก็บกวาดซะให้สะอาดแล้วขนเฟอร์นิเจอร์มาได้”
 
“ขอรับนายท่าน กระผมเกรงว่า โรงครัวจะเล็กเกินไป ไม่พอใส่ข้าวของ จะทำอย่างไรดีล่ะเนี่ย”

 “จะไปยากอะไรล่ะ เจ้าก็ไปบอกให้ช่างเนี่ย ให้เขาขยายโรงครัวให้ใหญ่ขึ้นสิ แต่ให้รีบๆ ทำหน่อยล่ะ เพราะฤกษ์บวชใกล้เข้ามาแล้ว”


เมื่อใกล้ฤดูพรรษา พราหมณ์ผู้มีนิสัยสำรวยก็ได้รับพระกรุณาเป็นเอหิภิกขุอุปสมบทและอยู่จำพรรษาในกุฏิใหม่ของตน
“ในที่สุด เราก็ได้บวชตามที่ใจปรารถนา จากนี้ไปคงได้ปฏิบัติธรรมให้จิตใจสงบได้เสียที”

ภิกษุผู้รักสบายเมื่อบวชแล้ว นอกจากมีจีวรสวยงาม มีบริขารอุดมสมบูรณ์แล้ว ภิกษุใหม่รูปนี้ยังสั่งให้คนรับใช้ที่บ้านมาคอยบริการทั้งกลางวันกลางคืน
“อาหารที่เราสั่งได้หรือยัง มาแล้วครับนายท่าน อุ่ย! ไม่ใช่สิ หลวงพี่”


ความประพฤติของภิกษุสงฆ์รูปนี้ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากมายในหมู่สงฆ์ด้วยกัน
“ภิกษุ ท่านเข้ามาบวชในศาสนาพุทธแล้ว ไยถึงไม่ละกิเลส ทำไมท่านถึงยังสะสมบริขารไว้มากมายเช่นนี้เล่า”

 “นั่นน่ะสิ เมื่อท่านยังรักความสบายอยู่อย่างนี้ แล้วเมื่อไหร่ท่านถึงจะบรรลุธรรมเล่า”

“ไม่เอาหน่า หลวงลุง ท่านไม่มีเหมือนกระผมก็อย่าอิจฉาสิ กระผมเนี่ย จะบรรลุธรรมหรือไม่ มันก็เป็นเรื่องของกระผม พวกท่านไม่ต้องยุ่งหรอกหน่า”



ภิกษุผู้หลงในทรัพย์บริขารของตน จึงถูกนำตัวไปเฝ้าพระบรมศาสดาในธรรมสภา เพื่อให้องค์ศาสดาทรงตำหนิและให้สติเพื่อปลุกสำนึกในพระวินัยอันดีในเวลานั้น
“ดูก่อนภิกษุ เธอมีโอกาสศึกษาพระธรรมอันดี สมควรอยู่ในวินัยสมณะ ไม่ผิดวินัยเช่นนี้”

 อนิจจา! พระกรุณาธิคุณนั้น กลับทำให้ภิกษุผู้มีกรรม บังเกิดความโกรธผุดลุกขึ้นกระชากจีวรออกจากร่างทันที
“วินัยสมณะที่แท้ก็แค่ผ้าเหลืองเท่านั้น หึ! ถ้ากระผมถอดออกก็ถือเป็นอิสระใช่ไหม ถ้าอย่างนั้นน่ะ ก็เหลือวินัยข้อเดียวตามใจตัวเองเป็นดีที่สุด ฮ่าๆๆ”

“เฮ้อ! ไม่น่าเลย พระองค์ทรงเตือนแล้ว ยังไม่สำนึกอีก”



ภิกษุใหม่เคยต่อความสุขสบายมานาน เมื่อถูกทำให้อับอายก็โกรธจนลืมตัว ถอดจีวร ถอดอังสะ ยืนอุจาดกลางที่ประชุมอย่างขาดหิริโอตัปปะ
“ฮ่าๆๆ เห็นไหม เมื่อเราถอดผ้าออกก็ถือว่าอิสระ ใครก็กล่าวโทษเราไม่ได้ ฮ่าๆๆ”

“โอ้! ช่างไม่รู้จักอับอายบ้างเลย เฮ้อ”
“ดูสิ ถูกตักเตือนอยู่แท้ๆ ยังไม่รู้ผิดอีก เฮ้อ! ไม่ได้เรื่อง”



การกระทำที่น่าอับอายนี้ อุบาสก อุบาสิกาและพระภิกษุทั้งหลายในธรรมสภาต่างไม่พอใจ
จึงว่ากล่าวและบริภาษอย่างรุนแรงจนต้องหนีออกจากพระเชตวันไป

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงตรัสอดีตชาติของพระภิกษุผู้ไม่ละอายขึ้นเป็นอุทาหรณ์ ในโมรณัจจชาดกดังต่อไปนี้

 อดีตกาลย้อนไปแต่ครั้งต้นกัป ครั้งที่โลกยังสวยงามและอุดมสมบูรณ์ หมู่สัตว์ทั้งหลายต่างเคารพซึ่งกันและกัน ไม่ล่วงเกินกล่าวร้ายกัน เช่นคนในวันนี้
ในหิมพานต์ป่าใหญ่ครั้งนั้น ยังมีพญาหงส์เป็นหัวหน้าหมู่นกทั้งปวง คราวหนึ่งถึงเวลาการมีคู่ครองของธิดาพญาหงส์ ซึ่งเจริญวัยเป็นสาวและสวยงามกว่าวิหกใดๆ


 “ลูกของเราเนี่ย ช่างงามแท้ๆ เฮ้อ! ถึงเวลาหาคู่ให้ลูกของเราแล้วล่ะสิเนี่ย คิดไปก็ใจหาย ไม่อยากให้จากอกพ่อไปเลย เฮ้อ”

“เราเป็นสาวเต็มตัวแล้วหรือเนี่ย ถึงเวลาที่จะมีคู่แล้วสิ คิดแล้วก็ตื่นเต้น เนื้อคู่เราจะเป็นนกเช่นใดนะ”

เมื่อพญาหงส์ประกาศให้นกหนุ่มๆ ทั้งหลายมาชุมนุมกันเพื่อเลือกคู่ ธิดาซึ่งเป็นสาววัยกำดัด ก็ยิ่งงดงามจนชื่อเสียงกำจรขจาย เป็นที่ใฝ่ปองของนกทั้งหิมพานต์
 “สวยๆ อย่างเรา ก็ต้องได้คู่ที่ดี เหมาะกับเราเท่านั้น พ่อประกาศหาคู่ให้เราเช่นนี้ นกหนุ่มๆ น้อยใหญ่ก็คงแห่มาเพียบสินะ เฮ้อ! เราจะเลือกนกเช่นไรมาเป็นคู่ดีนะ”

ครั้นถึงวันนัดหมาย นกทั้งหลายก็พากันบินมารวมกันกลางลานเลือกคู่
"เร็วเข้าๆ ใครร่อนลงก่อนน่ะ ก็มีสิทธิ์ได้ดูตัวก่อนนะ ไม่รอใครแล้ว ธิดาหงส์ต้องเป็นคู่เราเท่านั้น”

“อย่าโม้ไปหน่อยเลยหน่า เราต่างหากที่คู่ควรกับธิดาหงส์น่ะ”

ไม่ช้าบริเวณรายรอบลานป่าที่พญาหงส์ใช้เป็นที่ชุมนุมก็มีเหล่านกทั้งหลายมารอกันมากมาย
“โห! มีนกหนุ่มๆ มากันเพียบเลย อยากรู้จังว่าธิดาหงส์น่ะ หญิงในดวงใจของเรา จะชอบนกเช่นไร”
“ก็ต้องเป็นนกที่สง่างามอย่างข้านี่แหละ”

 
“เฮอะ อย่างเจ้านี่หรอ สง่างาม ถ้านกอย่าเจ้าสง่างามน่ะ ก็คงไม่มีนกตัวใดขี้ริ้วขี้เหร่แล้วล่ะ”
เนื่องด้วยความงามอย่างเพียบพร้อมของหงส์สาว ทำให้มีนกหนุ่มๆ มากมาย ใฝ่ฝัน อยากเป็นคู่

“ถ้าเพียงแต่ได้น้องมาครองคู่ ชีวิตนี้พี่ก็ไม่ต้องการสิ่งใดอีกแล้ว ขอให้เป็นเราทีเถอะ ที่จะได้เคียงคู่กับน้องธิดาหงส์”
“พญาแร้งหนุ่มอย่างเรา โดดเดี่ยวอยู่ในภูเขานี้มาก็หลายปี  ถ้าได้ธิดาหงส์มาครองรักนะ หุบเขาแห่งนี้ก็คงไม่เปลี่ยวปล่าว เหงา เดียวดาย อย่างเช่นเคยแน่นอน
โลกของเรานี่มันก็ต้องมีแต่สีชมพู มองไปทางไหนก็คงอบอุ่นไปด้วยความรักเต็มไปหมด ง่า”

 “กาดำอย่างเรา ถึงตัวจะดำแต่ใจก็ไม่ดำ หวังว่าธิดาหงส์น่ะ คงจะมองผ่านความดำเข้ามาถึงจิตใจอันงดงามของเราบ้าง
เฮ้อ! ตื่นเต้นจริงๆ เลย ปีนี้หวังว่า จะได้สละโสดกับเขาซะที”



เมื่อเวลาผ่านไปพอสมควร ธิดาพญาหงส์ก็แสดงความพึงพอใจ นกยูงหนุ่มตัวหนึ่ง
“อุ้ย! ตายล่ะ ดูพ่อนกยูงตัวนั้นสิ ช่างงามสง่ายิ่งนัก ถูกใจเราเหลือเกิน”

“เหอะๆๆๆ ธิดาหงส์มองมาทางเราอย่างชื่นชม วางท่าสง่างามไว้ งานนี้มีเฮแน่ เหอะๆๆๆ”

เมื่อธิดาหงส์เลือกนกยูงหนุ่มมาเป็นคู่ ผู้เป็นพ่อจึงเชิญให้นกยูงผู้โชคดีออกมาแสดงตัวแก่เหล่าวิหคทั้งหลาย
“โอ้โห อือหือ ช่างสง่างามยิ่งนัก ตัวดำๆ อย่างเราเนี่ย ก็คงต้องเหงาเหมือนเคย เฮ้อ! ไม่เจียมตัวจริงๆ เลย”



 “ช่างน่าปลาบปลื้มใจแทนเขาทั้งสองคน เหมาะสมกันยิ่งนัก”

“เหอะๆๆๆ ดูสิ เหล่านกพวกเนี้ย ล้วนชื่นชมเรากันทั้งนั้น เฮ้อ! เกิดมาหล่อ สง่างามก็อย่างนี้แหละ”

อันนกยูงนั้น มันลำพองในความงามของขนหางอยู่แล้ว ครั้นได้รับเกียรติ ได้รับคำเยินยอเข้า นิสัยอยากอวดก็กำเริบขึ้น
“เหอะๆๆๆๆ เจ้านกทั้งหลายพวกนั้นน่ะ คงชื่นชอบความงามของขนหางเราล่ะสิ คอยดูเถอะ เราจะทำให้นกพวกนั้นน่ะ ต้องตาค้างเพราะความงามของเรา”


 นกยูงหนุ่มเชิดคอตั้ง ออกไปกลางลานโล่ง แล้วโชว์ขนหางออกลำแพน หันไปหันมา อวดของดีในตัวอย่างไม่อายใคร
“นี่ ดูซะก่อน เจ้านกทั้งหลาย ขนของเรางามกว่าที่พวกเจ้าคิดไว้ตั้งเยอะ หันก้นไปทางโน้นหน่อยดีกว่า จะได้มองเห็นรอบๆ”

“อุ้ย น่าเกลียดจริงๆ นกอะไรไม่รู้จักกาลเทศะเลยนะเนี่ย เฮ้ย กาดำอย่างเราน่ะ ถึงรูปจะไม่งาม แต่ก็ไม่เคยมีนิสัยอย่างนี้หรอกนะ”

“นั่นนะสิ เสียดายธิดาหงส์จริงๆ ไม่น่าเลือกนกอย่างนี้เลย”



 “คิดได้ไง กางขนออกมา ไม่อายนกตัวอื่นๆ บ้างเลย”

“ไม่รู้จักอายแบบเนี่ย เลือกแร้งอย่างเราซะดีกว่า แกว่าไหม”

“นั่นน่ะสิ ลูกพี่รูปไม่หล่อ แต่นิสัยดีกว่านี้อีก”

พญานกเมื่อเห็นพฤติกรรมนกยูงก็ทนขัดเคืองไม่ไหว
“เธอขาด หิริ คือความไม่ละอายใจ ขาดโอตัปปะ คือความไม่เกรงคำนินทา จึงทำให้ประจานตนอย่างนี้ เธอคงไม่เหมาะที่จะเป็นคู่กับธิดาของเราแล้วล่ะ”

“โธ่ ไม่น่าเลยเรา อยู่ดีไม่ว่าดี รู้เงี้ยะ ยืนเฉยๆ ก็ดี ฮือๆๆๆ ธิดาหงส์ของพี่”

นกยูงถูกขับไล่ออกไปแต่บัดนั้น หงส์น้อยแสนสวย ถูกยกให้เป็นคู่กับหงส์หนุ่มที่มาเลือกคู่ด้วยความเหมาะสม ก็ได้ครองรักอยู่กินกันไปจนสิ้นอายุขัย



ธิดาหงส์ได้เลือกหงส์หนุ่มมาเป็นคู่ชีวิตของตน
 
“หือ ดีใจจังที่ได้พี่หงส์มาเป็นคู่ คราวนี้น้องเลือกคู่ไม่ผิดจริงๆ” “พี่จะคอยดูแลเจ้าให้มีความสุขเองจ้า”
 
นกยูง ได้กำเนิดเป็น ภิกษุผู้ขาดหิริโอตัปปะ
พญานก เสวยพระชาติเป็น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า







 

เว็บไซต์ในเครือข่ายอภิโชค : apichokeonlin.com | apichoke.net | apichoke.biz | apichoke.me | apichoke.org | apichoke.info
"ศาสตร์ของการคำนวณหวย สถิติหวยความน่าจะเป็น บนเว็บนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน-นักคำนวณ และบุคคลทั่วไปตลอดจนเลขจากไสยศาสตร์ต่างๆ การที่ใครจะถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือถูกหวย รวยด้วยหวย ก็เป็นเพียงแต่ การเสี่ยงโชค เสี่ยงดวง เท่านั้น โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ และไม่ควรงมงาย หากต้องการเสี่ยงโชค ซื้อหวย เล่นหวย ก็ขอให้ เสี่ยงโชคแต่พอเพียงตามกำลังของตนเอง อย่าซื้อเกินกำลังอาจทำให้เดือนร้อนได้"
คำเตือน : อย่าหลงเชื่อหากมีผู้อ้างตนเป็นอาจารย์ดังสามารถให้หวยถูก100%หรือให้ถูกทุกงวดแน่นอน หรืออวดอ้างว่ารู้จักกับเจ้าหน้าที่กองสลาก แล้วเรียกเก็บเงินจากท่าน
ข้อมูลในเว็บนี้ใช้ประกอบเสี่ยงโชคสำหรับซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเท่านั้น ไม่สนับสนุนหวยที่ผิดกฏหมาย