ปกิณณกะ > ห้องคลายเครียด - ตลก ขำขัน

น่าอ่าน น่าคิด 'ลิงกับลา'

(1/1)

panyada:
ลิง กับ ลา  ปํญญดากับ...  หรือ  ...กับปัญญดา   ;D ;D ;D ;D

หญิงชาวบ้านคนหนึ่งอาศัยอยู่คนเดียวในกระท่อม ด้วยความเหงานางจึงหาสัตว์มาเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนสองตัวคือ
ลิงและลา

วันหนึ่งหญิงชาวบ้านคนนี้ต้องออกไปตลาดเพื่อซื้ออาหาร ก่อนออกจากบ้านเธอได้เอาเชือกมาผูกคอลิง
แล้วมัดขาของลาเอาไว้ทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงทั้งสองตัวเดินย่ำไปมาในกระท่อมจนทำให้ข้าวของต่างๆ ได้รับความเสียหาย
 
ทันทีที่หญิงชาวบ้านออกจากบ้านไป ลิงซึ่งมีความฉลาดและแสนซนเป็นคุณลักษณะประจำตัว ก็ค่อยๆ คลายปมเชือกออกจากคอของมัน อีกทั้งยังซุกซนไปแก้เชือกมัดขาให้แก่ลาอีกด้วย หลังจากนั้นเจ้าลิงก็กระโดดโลดเต้นห้อยโหนโจนทะยานไปทั่วกระท่อมจนทำให้ข้าวของต่างๆ ล้มระเนระนาดกระจัดกระจายไปทั่ว
อีกทั้งยังซุกซนรื้อค้นเสื้อผ้าของหญิงชาวบ้านมาฉีกกัดจนไม่เหลือชิ้นดี ในขณะที่ลาได้แต่มองดูการกระทำของเจ้าลิงอยู่เฉยๆ
 
สักครู่หนึ่ง  หญิงชาวบ้านคนนี้ก็กลับมาจากตลาด เจ้าลิงมองเห็นเจ้าของเดินมาแต่ไกลจากทางหน้าต่างก็รีบเอาเชือกมาผูกคอตนไว้อย่างเดิมและอยู่อย่างสงบนิ่ง

ฝ่ายหญิงชาวบ้าน เมื่อเปิดประตูกระท่อมเข้ามาเห็นข้าวของของตนถูกรื้อค้น กระจุยกระจายเช่นนั้น ก็เกิดโทสะขึ้นทันที หันมองลิงและลาเพื่อดูว่าใครเป็น
ผู้ก่อเรื่อง และเห็นว่าลาไม่มีเชือกผูกขาดังเดิม เธอก็คิดเอาเองว่าเจ้าลานี่เองคือตัวปัญหา ทำให้กระท่อมของเธอมีสภาพไม่ต่างจากโรงเก็บขยะ
ดังนั้นหญิงชาวบ้านจึงวิ่งไปหยิบท่อนไม้นอกบ้านมา ทุบตีลาอย่างรุนแรง ซึ่งเจ้าลาผู้น่าสงสารก็ได้แต่ส่งเสียงร้องด้วยความเจ็บปวดจนสิ้นใจโดยไม่สามารถทำอะไรได้เลย

panyada:
ข้อคิดในการทำงาน
เธอทั้งหลาย...
เธอหลายคนคงไม่ค่อยชอบตอนจบของนิทานเรื่องนี้นัก เพราะสงสารเจ้าลาที่ไม่ได้ทำความผิดอะไร
แต่กลับถูกเจ้าของทำโทษจนตาย ส่วนเจ้าลิงซึ่งเป็นต้นเหตุแท้ๆ กลับรอดพ้น และไม่ได้รับผลกรรมใดๆ
 
แต่แท้ที่จริงแล้วนิทานเรื่องนี้ต้องการชี้ให้เห็นถึง ความเป็นผู้นำ ของหญิงชาวบ้านที่ไม่พิจารณาเหตุการณ์ให้ถ่องแท้ เชื่อแค่สิ่งที่ตนเห็นแล้วลงโทษไปตามความรู้สึกและประสบการณ์ส่วนตัว เธอมองเห็นข้าวของเสียหายและมองเห็นลาที่หลุดออกมาจากเชือก แล้วตัดสินว่าลาคงเป็นผู้กระทำ  แต่ไม่ได้มองว่าลาไม่มีปัญญาจะแก้เชือก และไม่มีนิสัยชอบรื้อทำลาย

เธอมองเห็นลิงยังถูกเชือกล่ามอยู่ ก็คิดว่าลิงคงไม่ใช่ผู้กระทำ แต่มองไม่ออกว่าผู้น่าจะแก้ปมเชือกได้และมีนิสัยชอบรื้อทำลายนั้นคือ ลิง
ความจริงถ้าเธอรู้จักสำรวจร่องรอยความเสียหายเสียสักเล็กน้อย เธอก็จะพบรอยเท้าและฟันของลิงกระจายไปทั่วห้อง แต่ไม่พบรอยเท้าของลาเลย
เพราะลาไม่ได้เคลื่อนที่ไปไหน
 
เหตุที่องค์กรของเราต้องเหน็ดเหนื่อยทรมานกันอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะความสะเพร่าของผู้นำที่    "ปล่อยให้ลิงสร้างปัญหา แต่ลารับเคราะห์"

panyada:
 ลาก็เหมือนกับคนที่ปฏิบัติงานได้ตามหน้าที่ แต่ไม่ค่อยมีปากมีเสียง พูดจาตรงไปตรงมา  แต่ไร้เล่ห์เหลี่ยม

 ลิงก็เหมือนกับคนที่ฉลาดแกมโกง พูดมาก พรีเซ็นต์เก่ง อ้างอิงตำราได้สารพัด แต่ไม่เคยทำงานจริง
นายที่ดีไม่ควรปล่อยให้ลิงหลงระเริงว่าทำผิดเท่าไหร่นายก็ไม่มีทางรู้ ผู้เป็นนายไม่ควรยึดติดความสบาย นั่งขึ้นอืดรอฟังแต่รายงานในห้องประชุม รู้จักยอมเสียสละตน สละเวลาอีกเล็กน้อยเพื่อค้นหาความจริง เพื่อควบคุมเจ้าลิง เพราะไม่เช่นนั้น องค์กรก็จะทุกข์ทรมานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ถ้าลิงสงบได้องค์กรก็จะพลอยสบายและมีความสุขอย่างยั่งยืนไปด้วย

panyada:
 :) :)
อีกหนึ่งข้อคิดในการควบคุมจิตใจตนเอง
 
นิทานเรื่องนี้ต้องการชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจ ลิงก็เปรียบเหมือนจิตใจของคนเรา ส่วนลาก็คือร่างกาย ลิงที่ซุกซนต้องการนั่นต้องการนี่ อยากทำอะไรก็ต้องได้ทำตามใจตน ก็เหมือนจิตใจของคนเราที่ไม่รู้จักสงบนิ่ง คิดกระทำเรื่องไม่ดีมากมาย สุดท้ายความยากลำบากทั้งหมดก็ตกอยู่ที่ร่างกายที่ไม่ได้เป็นผู้ก่อปัญหา แต่กลับต้องมารับเคราะห์กรรมเพราะอยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
 
ทุกวันนี้ที่ร่างกายของเราเหน็ดเหนื่อย ก็เพราะจิตใจของเราที่มัวแต่สร้างปัญหา มีความอยากได้อยู่ตลอดเวลา มีกิเลสฝังลึกอยู่ในจิตใจ ฉะนั้นเราจึงไม่ควรปล่อยให้ลิงในใจแสดงความเหิมเกริมออกมาเช่นนั้น เราต้องควบคุมเจ้าลิง ต้องยับยั้งชั่งใจห้ามไม่ให้เจ้าลิงแสดงตัวตนออกมา ไม่เช่นนั้นร่างกายก็จะทุกข์ทรมานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่ถ้าจิตใจของเราสงบ ร่างกายของเราก็จะพลอยสบายและมีความสุขไปด้วย   

Sogood:
เคยได้ FW เมล์อันนี้เหมือนกัน

ชอบมากๆๆๆๆๆๆๆ


เปรียบเสมือนนน....เจ้านายกับลูกน้องประจบ กับไม่ประจบ

ส่วนใหญ่เจ้านายมักจะเชื่อคนประจบมากกว่า..ประมาณนั้นนนนน

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version