ปกิณณกะ > ธรรมะ

ธรรมะ กับ ธรรมเมา

(1/8) > >>

walaioo:

walaioo:
ธรรมะ คือ ความเป็นธรรมดา ความเป็นธรรมชาติของสิ่งที่เกิดขึ้น
ที่มีชื่อเรียกว่า ผัสสะ

ที่มีเกิดขึ้นทั้งภายนอก(สิ่งที่เกิดขึ้น) และภายใน(ใจที่รู้ และมีนึกคิด)
ซึ่งมีการเกิด-ดับ ตามเหตุและปัจจัย


ธรรมเมา คือ ความมัวเมา โลภะ โทสะ โมหะ ความหลง ที่ครอบงำอยู่
ความมัวเมาในอารมณ์  

เมื่อมีสิ่งใดเกิดขึ้น(ผัสสะ)
สิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งๆนั้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เหตุปัจจัยจาก อวิชชาที่มีอยู่ จึงหลงกระทำสร้างเหตุแห่งทุกข์(สานต่อ) ให้เกิดขึ้นใหม่
ตามแรงผลักดันของกิเลสที่เกิดขึ้น(ความรู้สึกนึกคิด)  ณ ขณะนั้นๆ

เมื่อความมัวเมา ความหลง(โมหะ) ครอบงำอยู่ เหตุปัจจัยจาก อวิชชาที่มีอยู่
เป็นปัจจัยให้ ไม่สามารถรู้ชัดถึง สภาพธรรมตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) ทั้งภายนอก และภายใน

ไม่รู้ชัดว่า ผัสะที่เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งๆนั้น ที่เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(ภายใน)
เป็นความปกติ ความเป็นธรรม ความเป็นธรรมของจิต ที่ยังมีกิเลสสังโยชน์ เนืองนองอยู่ในขันธสันดาน
 
เหตุที่สิ่งที่เกิดขึ้น(ภายนอก) ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
ล้วนเกิดจาก เหตุปัจจัยที่มีต่อกัน(เคยกระทำร่วมกันมา)

เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงหลงสร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
มากกว่าที่จะหยุดอยู่แค่ ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ


ทุกข์-สุข ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
จึงมีเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้

 
 

walaioo:
 
http://www.youtube.com/watch?v=Sltzlm7CvfY

ขอมอบความรักของฉัน
แด่ทุกสิ่งอันในโลกนี้

พ่อแม่ คุณครู เพื่อนมิตรไมตรี
สรรพสัตว์ และเทวดา

ขอมอบความรักแก่แผ่นดิน
ต้นน้ำ ลำธาร และท้องฟ้า

ให้อยู่รวมกัน เพื่อพึ่งพา

ขอแผ่เมตตา สิ้นทุกข์ สุขเทอญ


walaioo:
มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง

[๗๑๐] ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นพระผู้มีพระภาคทรงอดทน ข้าพระองค์เห็นพระผู้มีพระภาคทรงยังอัตภาพให้เป็นไป กายของข้าพระองค์ประหนึ่งจะงอมระงมไป
 แม้ทิศทั้งหลายก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์ แม้ธรรมทั้งหลายก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์ เพราะความประชวรของพระผู้มีพระภาค

แต่ข้าพระองค์มาเบาใจอยู่หน่อยหนึ่งว่า พระผู้มีพระภาคยังไม่ทรงปรารภภิกษุสงฆ์
 แล้วตรัสพระพุทธพจน์อันใดอันหนึ่ง จักยังไม่เสด็จปรินิพพานก่อน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรอานนท์ ก็บัดนี้ ภิกษุสงฆ์จะยังมาหวังอะไรในเราเล่า ธรรมอันเราแสดงแล้ว กระทำไม่ให้มีในภายใน
ไม่ให้มีในภายนอกกำมืออาจารย์ในธรรมทั้งหลาย มิได้มีแก่ตถาคต

ผู้ใดพึงมีความดำริฉะนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ หรือว่าภิกษุสงฆ์ยังมีตัวเราเป็นที่เชิดชู
ผู้นั้นจะพึงปรารภภิกษุสงฆ์ แล้วกล่าวคำอันใดอันหนึ่งแน่นอน

ดูกรอานนท์ ตถาคตมิได้มีความดำริอย่างนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์
หรือว่าภิกษุสงฆ์มีตัวเราเป็นที่เชิดชู ดังนี้ ตถาคตจักปรารภภิกษุสงฆ์แล้วกล่าวคำอันใดอันหนึ่ง ทำไมอีกเล่า

บัดนี้เราก็แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว วัยของเราเป็นมาถึง ๘๐ ปีแล้ว เกวียนเก่ายังจะใช้ไปได้ก็เพราะการซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่
ฉันใด กายของตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังเป็นไปได้ก็คล้ายกับเกวียนเก่าที่ซ่อมแซมแล้วด้วยไม้ไผ่ ฉะนั้น.

[๗๑๑] ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตเข้าเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง
เพราะดับเวทนาบางเหล่าแล้วอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมผาสุก

เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
คือ จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด.

[๗๑๒] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่
มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย

ดูกรอานนท์ ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะมีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล.

[๗๑๓] ดูกรอานนท์ ก็ผู้ใดผู้หนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็น ผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง

ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศ.





ความเพียร มีผล ความพยายาม มีผล
ความเพียร ในที่นี้หมายถึง เพียรละเหตุแห่งทุกข์ ที่มีอยู่

เหตุแห่งทุกข์ ในที่นี้หมายถึง กิเลสสังโยชน์ 10 ที่มีอยู่ ได้แก่

๑. ทิฏฐิสังโยชน์

๒.วิจิกิจฉาสังโยชน์

๓. สีลัพพตปรามาส
 
๔. กามราคสังโยชน์

๕. ปฏิฆสังโยชน์

๖. ภวราคสังโยชน์

๗. อิสสาสังโยชน์

๘. มัจฉริยสังโยชน์

๙. มานสังโยชน์

๑๐. อวิชชาสังโยชน์




ทุกข์ ในที่นี้ หมายถึง

๑.ทุกข์-สุข ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต

๒. การเกิดเวียนว่าย ในสังสาวัฏฏ์ ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร ก็ตาม(ขึ้นชื่อว่า การเกิด ล้วนเป็นทุกข์)



ทำไมจึงกล่าวว่า กิเลสสังโยชน์ เป็นเหตุแห่งทุกข์
เพราะ กิเลส เป็นต้นเหตุ ที่ก่อให้เกิดการกระทำ

เมื่อมีผัสสะใดๆเกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เริ่มจาก มโนกรรม(ความรู้สึกนึกคิด/การกระทำทางความคิด)

เหตุปัจจัยจาก อวิชชา(ความไม่รู้) ที่มีอยู่
เป็นเหตุและปัจจัย ให้หลงกระทำ สร้างเหตุแห่งทุกข์ ให้มีเกิดขึ้นใหม่

โดยการสร้างเหตุออกไป(วจีกรรม กายกรรม)
ตามความรู้สึกนึกคิด(แรงผลักดันของกิเลส) ที่มีเกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ

ภพชาติปัจจุบัน(ความบังเกิดขึ้นแห่งภพ/มโนกรรม)
และภพชาติ การเวียนว่าย ในสังสารวัฏฏ์(มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม) จึงมีบังเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้

ทุกข์-สุข ในชีวิต และ ทุกข์(การเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสาร) จึงมีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้
เพราะ อวิชชาที่มีอยู่ เป็นเหตุและปัจจัยให้ ไม่รู้ชัดในผัสสะ ที่เกิดขึ้น จึงหลงกระทำ สร้างเหตุแห่งทุกข์ ให้มีเกิดขึ้นมาใหม่ ก็ยังไม่รู้

การจะละเหตุแห่งทุกข์(กิเลสสังโยชน์) มีแต่ การทำความเพียร(การทำกรรมฐาน ในรูปแบบต่างๆ ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยของผู้นั้น)
กิเลสสังโยชน์ที่มีอยู่ จะถูกทำลายจนหมดสิ้น มีเกิดขึ้นได้เฉพาะ สมุจเฉทประหานเท่านั้น(ถอนราก ถอนโคน)


ความพยายาม มีผล

ความพยายาม ในที่นี้ หมายถึง พยายามดับเหตุแห่งทุกข์

เหตุแห่งทุกข์ ในที่นี้หมายถึง เหตุของ การสร้างเหตุ(มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม) แห่งทุกข์(ทุกข์-สุข ที่มีเกิดขึ้น ในชีวิต)

ความพยายามดับเหตุแห่งทุกข์ หมายถึง ความพยายามอดทน อดกลั้น กดข่มใจ
ไม่สร้างเหตุออกไป(วจีกรรม กายกรรม) ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น(ตามแรงผลักดันของกิเลส)

เมื่อยังมีกิเลส ความรู้สึกนึกคิด ย่อมมีเกิดขึ้น เป็นเรื่องธรรม เป็นความปกติของผู้ที่ยังมีกิเลส
แค่รู้ว่า มีความรู้สึกนึกคิดเกิดขึ้น(มโนกรรม) ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นนี้ ห้ามไม่ให้มีเกิดขึ้น ห้ามไม่ได้
แต่การกระทำ ห้ามได้ โดยพยายามไม่สร้างเหตุออกไป(วจีกรรม กายกรรม) ตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น จากผัสสะ(สิ่งที่เกิดขึ้น)  เป็นเหตุปัจจัย

เมื่อกระทำแบบนี้เนืองๆ(พยายามอดทน อดกลั้น กดข่มใจกับโลกธรรม ๘ ที่มีเกิดขึ้น)
สติ ย่อมมีกำลังมากขึ้น เมื่อจะคิดทำอะไร จิตจะเกิดการคิดพิจรณาก่อนที่จะลงมือกระทำ มากขึ้น

เป็นเหตุปัจจัยให้ มีสติ รู้อยู่กับปัจจุบัน(สิ่งที่เกิดขึ้น)  ได้ทันมากขึ้น
 เหตุของการสร้างเหตุแห่งทุกข์ ที่จะกระทำให้มีเกิดขึ้นใหม่   ย่อมลดน้อยลงไป ตามเหตุและปัจจัย

เมื่อไม่กระทำเพิ่ม ทุกข์ ที่ยังมีเกิดขึ้นอยู่ ย่อมเบาบางลงไป ตามเหตุปัจจัย
เหตุไม่มี ผลจะมาจากไหน

ที่ยังทุกข์อยู่
เหตุมี ผลย่อมมี

ต้นเหตุของการสร้างเหตุของการเกิด ได้แก่ กิเลสสังโยชน์ สามารถละได้โดย การทำความเพียรต่อเนื่อง

ต้นเหตุของการสร้างเหตุแห่งทุกข์(ทุกข์-สุข ในชีวิต) ได้แก่ มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม(ที่กระทำลงไป ตามแรงผลักดันของกิเลส ที่เกิดขึ้น เหตุจาก ความไม่รู้ ที่มีอยู่)
วิธีกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ การอดทน อดกลั้น กดข่มใจ พยายามไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

เหตุไม่มี ผลย่อมไม่มี
ที่ผลยังมีอยู่ ล้วนเกิดจาก เหตุที่ยังมีอยู่

ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล จึงเกี่ยวเนื่องกัน เพราะเหตุนี้

   


walaioo:
การอยู่ร่วมกัน

สังคม ไม่ใช่ตัวกำหนดวัดค่าของผู้ใด ผู้หนึ่งได้
ไม่มีใครที่คิดตัดสินใครได้

การกระทำ ทุกๆการกระทำ ที่กระทำลงไป และที่แอบกระทำ(ในใจ)
เหตุเป็นอย่างไร ผลย่อมเป็นเช่นนั้น

ส่วนผลของเหตุไหน จะส่งให้ได้รับได้เร็วกว่ากัน
ขึ้นอยู่กับ สิ่งที่เคยกระทำไว้ และสิ่งที่กำลังกระทำให้เกิดขึ้นใหม่ ในแต่ละขณะๆๆ

สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต ในแต่ละขณะ ของแต่ละคน
ล้วนเกิดจาก เหตุ(สิ่งที่เคยกระทำไว้)

ต้นเหตุของ อวิชชา(ความไม่รู้) ที่มีอยู่
เป็นปัจจัยให้ ก่อให้เกิดการกระทำลงไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

การเรียนรู้ มีอยู่ทุกขณะๆๆ
เรียนรู้ที่จะอยู่กับสภาพแวดล้อมต่างๆได้ โดยใจเป็นทุกข์ น้อยลง ตามอุปทาน ที่ยังมีอยู่


ยึดมาก ทุกข์มาก
ที่ไม่ยึดเลย มีแต่ผู้ปราศจากกิเลสเท่านั้น




นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version