ปุจฉา
ตอนนั่ง หลังมาเริ่มกำหนด ปวด.....แล้วหาย
พระอ....ดูจะเน้นมาก..กับเรื่องนี้...ท่านบอก..ว่ามันหายได้
พยายามจะเชื่อนะ...แต่ยิ่งกำหนดยิ่งปวด แต่ทุกครั้งจะอดทน..จนหมดเวลา
จะหายหรือแยกกันได้..ต่อเมื่อปฏิบัติแบบกำลังมันเต็มที่แล้ว..
แบบมันจะวางเฉยต่อทุกอะไรๆ..ก็แบบนั้นมัน..ไม่ได้ออกมารู้และสู้กันแล้ว
ยิ่งมารอบนี้..ใจสู้ไม่เต็มร้อย..ถึงเวลาสัก30นาที จะปวดมากแอบขยับหนีตลอด
พอมีอดทนไม่ได้..หนีรอบที่1 .....ก็มีที่2..3..ตามมาแบบง่ายเลย
จนมีอยู่รอบหนึ่ง...นั่งแล้วปวดมาก...ก็กำหนด....แล้วมันก็หายจริงๆ
ก็ตามนิสัย...คนนิ่งไม่จริง มันดีใจอ่ะค่ะ
แต่ก็พอกำหนด"ดีใจ"ทัน .........เกือบไป
เมื่อหาย..รู้สึกขาแข็งๆ แล้วมีความรู้สึกเหมือนมีแรงดันจากท้องขึ้นมาหัว
ในส่วนที่ถูกดันผ่านขึ้นมา...เหมือนหมดความรู้สึกไล่ขึ้นมาเช่นกัน
จนทะลุขึ้นมาออกทางหัว เหมือนกายกับจิตมันแยกออกจากกัน
ตอนนั้นมีใจวาบๆหวิวๆ...มันไม่เคยเจอสภาวะนี้
"""มันรู้......แบบ.......ริบหรี่.........มันบางเบามาก"""เหมือนโดนล๊อคอยู่กับที่
มันอาจจะคล้ายๆคราวที่แล้ว
ที่ว่าความรู้สึกเปรียบเหมือนแสงตะเกียงถูกหรี่ลงๆๆช้า แบบแผ่วลงๆ คล้ายจะดับไป
แต่มันจะรู้..ขั้นตอนของการค่อยเป็นค่อยไป..แบบช้าๆ
แต่นี่..พอมัน..ไร้ความรู้สึก..ไล่ขึ้นไป..เหมือนทะลุออกทางหัว
มันพรึ่บเดียว...ความรู้สึกหรือสภาวะที่ว่านี้ก็ค้างอยู่อย่างนั้น
ก็เกิดหวั่นๆ
สักพัก..ก็เด้งกลับคืนมารับรู้..
ทำไม๊...ทำไม... ก็ว่าไม่กลัวแล้วนะ คือมันก็ยังรู้สึกใจหวิวๆหวั่น แบบนี้
วิสัชนา
ที่เขียนๆมาน่ะ เป็นเรื่องของความยึดมั่นถือมั่นที่มีอยู่
ผลของการทำความเพียรต่อเนื่อง เน้นต่อเนื่อง ไม่ใช่จ้ำจิ้ม กระท่อนกระแท่น
เมื่อถึงเวลา เหตุปัจจัยพร้อม จะรู้ชัดในสภาพธรรมต่างๆ หรือที่เรียกว่า ผัสสะ
เมื่อรู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น ความยึดมั่นถือมั่นจะเบาบางลงไปตามเหตุและปัจจัย
ถึงตรงนั้นแล้ว จะเลิกเขียนสิ่งเหล่านี้ไปเอง
เพราะไม่รู้ว่าจะเขียนไปทำไม
ในเมื่อเป็นเพียงความปกติของสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ
เหมือนเรื่องกายและจิต เป็นเรื่องของรูปนาม
สิ่งที่เกิดขึ้นกับกาย ใจที่รู้ ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิทั้งในรูปฌานและอรูปฌาน
เป็นความปกติที่มีเกิดขึ้น ของสภาพธรรม ที่เรียกว่า สัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว
หากขาดความรู้สึกตัว ก็นั่งนิ่งเหมือนหัวตอ
เหมือนเวลาหายไปชั่วขณะ ไม่ว่าจะกี่ชม. ก็ตาม
เหมือนเรื่องนี้
"[๙๓] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็น
ทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง...วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้น (อดีต) ย่อมไม่มี
เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้นไม่มี ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลาย (อนาคต) ย่อมไม่มี
เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลายไม่มี ความยึดมั่นอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี.
เมื่อความยึดมั่นอย่างแรงกล้าไม่มี จิตย่อมคลายกำหนัดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
เพราะหลุดพ้น จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม
เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี."
ปุจฉา
"คำว่า... ปัญญาอันชอบ
มีความหมายยังไงคะ"
วิสัชนา
เป็นเรื่องของ ผัสสะ ที่เกิดขึ้นทั้งในการดำเนินชีวิต และขณะทำความเพียร
ดังที่กล่าวไปแล้ว ข้างต้น
.....................
สาธุค่ะ พี่วลัยพร
ความยึดมั่นถือมั่น..ยังมีมากอยู่
ความเพียรก็กระท่อนกระแท่น..จริงๆค่ะ