ปกิณณกะ > ธรรมะ

กำเนิดพระคาถาชินบัญชร

(1/8) > >>

sonic x:




พระคาถาชินบัญชร
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )

sonic x:
กำเนิดพระคาถาชินบัญชร


กำเนิดพระคาถาชินบัญชร
เรียบเรียงโดย  คุณปัญญา

ได้คัดลอกมาจากหนังสือ  พระคาถาชินบัญชร

sonic x:

เมื่อครั้งนั้น สมเด็จ (โต) ได้มีโอกาสเดินทางไปยังจังหวัดกำแพงเพชร ท่านได้เดินทางไปที่วัดเก่าแห่งหนึ่งซึ่งมีกรุโบราณ ที่นั่นท่านได้พบคัมภีร์โบราณผูกหนึ่งฝังอยู่ในเจดีย์หัก สมเด็จจึงนำคัมภีร์ผูกนั้นมาเก็บไว้ที่กุฏิ ขณะนั้นสมเด็จ (โต) ท่านมีจิตดำริที่จะสร้างพระเครื่องเพื่อมอบให้แก่เจ้าปิยะ (ร.5) หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นสมบัติในยุคสมัยครองราชย์ ระหว่างครุ่นคิดสมเด็จ (โต) ท่านก็ได้จำวัดหลับไป

ในคืนนั้นราวๆประมาณตี 3 สมเด็จ (โต) ได้นิมิตว่าท่านได้ตื่นขึ้น เห็นชายหนุ่มรูปงามรูปหนึ่งมายืนอยู่ที่หัวนอนในชุดนุ่งขาวห่มขาว มีรูปลักษณ์งดงามหาที่ติมิได้เลย สมเด็จ(โต) ท่านก็มองขึ้นตามกำหนดของจิต ทราบว่าหนุ่มรูปงามนี้คงจะไม่ใช่มนุษย์อย่างแน่นอน

สมเด็จ (โต) จึงถามว่า "ท่านผู้เจริญ การที่อาตมาได้มีโอกาสชมท่านนับว่าเป็นขวัญตาเหลือเกิน ท่านมาในสถานที่แห่งนี้ มีสิ่งใดที่อาตมาปฏิบัติผิดพลาดในหลักพระพุทธศาสนาเล่า ? ขอให้ท่านจงประสาทประทานการสอนให้อาตมาแจ่มแจ้งในพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าเถิด"

ชายหนุ่มผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นด้วยคำพูดที่เย็นกังวาน "ท่านโต วิธีการที่ท่านดำเนินงานอยู่นี้คล้ายกับองค์สมณะโคดมอยู่ แต่การที่ท่านคิดจะสร้างพระให้เป็นสิ่งที่ระลึกของมนุษย์นั้น สร้างแล้วสิ่งนั้นจะต้องดี ท่านโตเชื่อในเรื่องวิญญาณ เพราะฉะนั้นควรจะปฏิบัติตามกฏของโลกวิญญาณ คือวิธีการตั้งให้ถูกหลักการในการปลุกเสก"

สมเด็จ(โต) ท่านจึงกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ขรัวโตนี้รับฟังความคิดเห็นของทุกคนหากแม้นท่านโปรดข้านี้ ขอได้โปรดบอกมาเถิด จะด่าว่าตักเตือนเราก็ไม่ว่า"

หนุ่มรูปงามผู้มีความสงบแลดูเป็นที่เลื่อมใส จึงได้แนะวิธีการต่างๆในเรื่องทิศทางว่าทิศใดเป็นทิศมงคล ในการวาง เทียน ธูปดอกไม้ เทียนชัย ให้ตรงตามหลักของกฏระเบียบแห่งโลกวิญญาณ เรียกว่า เทวบัญญัติ หรือพรหมบัญญัติ ระหว่างนั้นสมเด็จ (โต) ยังคุมสติสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ จึงได้ถามหนุ่มรูปงามนั้นว่า

"ท่านผู้รูปงามท่านนี้มีนามว่ากระไรหรอ?"

"หม่อมฉันนี้คือลูกศิษย์ องค์พระโมคคัลลานะ หม่อมฉันสำเร็จเป็นอรหันต์เมื่ออายุ 7 ขวบ แต่ด้วยทิ้งสังขารก่อนอายุขัยจึงมิได้สู่แดนอรหันต์ คงยังอยู่ในแดนพรหมโลก เพราะหม่อมฉันไม่อยากติดสตรี มิชอบสตรี เพราะสตรีทำลายพรหมจารีย์ของหม่อมฉัน หม่อมฉันจึงทิ้งสังขารก่อนอายุขัย ทางโลกวิญญาณถือว่าสิ้นก่อนอายุขัย จึงอยู่รูปพรหม ถ้าท่านโตต้องการปรึกษาจากหม่อมฉัน ก็จงระลึกถึงชินนะบัญจะระ" มานพหนุ่มรูปงามกล่าวต่อสมเด็จ (โต) อย่างสำรวม

ต่อมาไม่ว่าสมเด็จ (โต) จะทำงานสิ่งใด จึงมักระลึกถึงท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระทีไร ท่านก็ปรากฎร่างทันที ช่วยเหลือสมเด็จ (โต) ประกอบพิธีต่างๆ จึงทำให้เครื่องรางของขลังของสมเด็จ (โต) มีความศักดิ์สิทธิ์มาก

สมเด็จ (โต) ท่านปลุกเสกพระสมเด็จรุ่นสุดท้าย 84,000 องค์ เรียกว่า สมเด็จอิทธิเจ ท่านได้แปลคาถาจากคัมภีร์ ซึ่งท่านพบจากกรุวัดที่กำแพงเพชร ซึ่งคัมภีร์นั้นเขียนด้วยภาษาสิงหลได้ความบ้าง มิได้ความบ้าง จับใจความได้ว่าเป็นชื่ออรหันต์แปดสิบองค์ จึงได้ตัดต่อแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อง่ายต่อการสวด จึงแปลใหม่ได้ความว่า "คาถาชินบัญชร" ซึ่งตรงกับชื่อท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ สมเด็จ (โต) ท่านจึงถือคาถาบทนี้เป็นการเทิดทูนท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ ที่ท่านได้ช่วยเหลือตลอดมา และพระคาถาบทนี้เป็นบทสวดในการนั่งปลุกเสกพระอิทธิเจรุ่นสุดท้าย ซึ่งสมเด็จ (โต) ท่านนั่งปลุกเสกอยู่เพียงผู้เดียว

sonic x:
พระคาถา ชินบัญชร (สวดมนต์ กันเถอะ)

พระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ตั้งนะโม ๓ จบ
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะ ราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

๑. ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา.

๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.

๔. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก.

๕. ทักขิเณสะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.

๖. เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว.

๗. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเนนิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.

๘. ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ตีละกา มะมะ.

๙. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอตาสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง.

๑๑. ขันทะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา.

๑๒. ชินาณา วะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชณัตตุปัททะวา.

๑๓. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

๑๔. ชินะปัญชะระมัชณัมหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล
สะทา ปาเลน ตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.

๑๕. อิจเจวะมันโต สุคุโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตูปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ.

::) ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้เป็นประจำสม่ำเสมอ
จะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม
ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ คาถาชินบัญชร ดีนักแล

kr53:
ขอบคุณค่ะ

 K:[ K:[ K:[

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version