ปกิณณกะ > ธรรมะ

ธรรมะ กับ ธรรมเมา

<< < (3/8) > >>

วรา มหานคร:
 s#y

walaioo:
เก็บตัว

หลังจากที่มีผู้ไม่ประสงค์ออกนาม(มาสอนวิธีคำนวณถึงในฝัน แต่วลัยพรจำไม่ได้หรอก เขาถามว่า จำได้ไหม ตอบว่าจำได้ คือ ตอบไปแบบงั้นหละ ใจจริงไม่ได้สนใจ)
มอบเงินให้ไปทำบุญ(ถูกหวย) อันนี้ลองเล่นเอง(เลขที่คำนวณได้น่ะแหละ) เงินนี้ไม่เกี่ยวกับที่แฟนถูกด้วย อีกส่วนหนึ่ง

ส่วนความฝันนั้น บอกกับแฟนว่า ครั้งก่อนเป็นผู้หญิงมาสอน แต่ไม่ได้สนใจเช่นกัน กลับมาก็ได้วิธีคำนวณใหม่
ครั้งนี้ เป็นผู้ชายร่างเล็ก ตัวดำมาสอน บอกกับแฟนว่า สงสัยจะได้วิธีคำนวณใหม่ ก็เป็นไปตามนั้นจริงๆ

ขอแฟนไปวัด 4 วัน เพื่อตอบแทนคุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม
และต้องการพักผ่อนจิต หยุดเรื่องนอกตัวไว้ชั่วเวลาหนึ่ง

ได้พักอาคาร 4 ชั้น ห้อง 303 ขอพักคนเดียว
ห้องพักกว้างมาก มีพัดลมติดเพดาน มีห้องน้ำในตัว มีราวตากผ้าด้านหลัง
ได้เตรียมเสื้อผ้าไปพร้อม จึงไม่ต้องซัก

สภาพอากาศในห้อง เย็นมาก เหมือนอยู่ห้องแอร์
ไปวัดครั้งนี้ ได้พักผ่อนเต็มที่ งดช่วยแฟนคำนวณตัวเลขชั่วคราว

เรื่องทางโลก(ความโลภ) บอกตามตรง สภาพธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น
ไม่ทำให้หักเหออกจากเส้นทางที่เดินอยู่

เรื่องอยากได้ ไม่อยากได้ เป็นเรื่องธรรมดาของกิเลสที่มีอยู่
ได้มา ต้องเสียไป เป็นของคู่กัน เพียงแต่ว่า จะเสียไปทางไหนเท่านั้นเอง

ได้แบ่งเงินไปทำบุญสองพันบาทรวมกับผู้ที่โอนเข้าบ/ช มาร่วมทำบุญด้วยกัน
ที่เหลือสองพันกว่าบาทและเงินในบ/ช  เก็บไว้สำหรับทำบุญในครั้งต่อๆไป

รายการทำบุญ เลี้ยงภัตราหารพระภิกษุ สามเณร แม่ชี ผู้ปฏิบัติธรรม เป็นจำนวนเงิน 500 บาท
จ่ายค่าน้ำปานะ เป็นจำนวนเงิน 500 บาท
ค่าเดินทางไปกลับ 400 บาท
ชำระหนี้สงฆ์ 200 บาท
ถวายพระ สำหรับทำบุญหล่อพระ 200 บาท
 
 
ภาพรอก่อนนะ ภาพถ่ายตอนเช้า บรรยากาศยังค่อนข้างมืดอยู่
 
อาาคารเรือนไทย ใช้ไม้จากบ้านหลังเก่า(ทางวัดซื้อมา)
มีผู้ที่พักเรือนไทย เล่าให้ฟังว่า ผีดุมาก เหอๆๆๆๆๆๆ

ตึกที่วลัยพรไปพักก็เช่นกัน มีคนบอกเหมือนกัน
แต่วลัยพรฝันแค่เพียงว่า มีผู้ชายมาบอกว่า คนที่ขโมยกล่องใส่เงินชำระหนี้สงฆ์ มีรถขับมา

มีแต่ก่อนไปวัด ฝันว่า มีผีผู้ชายมาหลอก แลบลิ้นปลิ้นตา
เราก็แผ่เมตตาให้ ก็ไม่ไป สวดมนต์ให้ ก็ไม่ไป

ก็เลยนั้งสมาธิ ไม่สนใจ อยากทำอะไรก้ทำไป
สักพัก เขาล้มลง นอนขึ้นอืด น้ำเหลืองเต็มตัว









 

walaioo:
ปุจฉา

"เพราะวิปัสสนา..คือรู้ในอารมณ์ปัจจุบัน
สมถะ..คือเพ่งอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง จะได้สมาธิเร็วและง่ายดีกว่า"



วิสัชนา

เกี่ยวกับคำเรียกสภาพธรรมต่างๆ
หากต้องการศึกษาคำเรียกนั้นๆ ควรศึกษาจากพระธรรมคำสอน
ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงตรัสไว้

คำเรียก วิปัสสนา ความหมายของคำเรียกนี้ ที่มีปรากฏในปัจจุบัน
อย่างที่คุณนำมากล่าว"รู้อารมณ์ปัจจุบัน"

ความหมายนี้ เป็นการแต่งเติมขึ้นมาใหม่ ที่มีใช้ในปัจจุบัน กับกลุ่มคนบางกลุ่ม
ซึ่งไม่ใช่สภาพธรรม ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ตามพระธรรมคำสอน


เกี่ยวกับสมาธิ
สมาธิ ที่เรียกว่า สมถะ
มีลักษณะอาการ ที่เกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิ ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
บางที่นิยมใช้คำว่า ขาดธาตุรู้


สมาธิ ที่เรียกว่า วิปัสสนา
มีลักษณะอาการ ที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
เกิดขึ้นร่วมด้วย ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ ไม่ว่าสมาธิที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆ
มีกำลังมากแค่ไหนก็ตาม(ฌานทั้ง 8)


จึงต้องมีการสอบอารมณ์ เพื่อดูความรู้สึกตัว ขณะจิตเป็นสมาธิ
จึงเป็นที่มาของคำเรียก ญาณ 16


คำเรียก วิปัสสนา ที่มีใช้สอนในสำนักต่างๆ
ล้วนใช้เป็นอุบาย ในการปฏิบัติ


หากต้องการรู้ว่า คำเรียก วิปัสสนา ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
รากเหง้าแท้จริง มาจากไหน ควรศึกษาตำราจากพม่า

มูลเหตุทั้งหมด เกิดจาก ความหวังดี ของครูอาจารย์ในสมัยก่อน
เมื่อเห็นว่า สมถะ-วิปัสสสนา ถ้าให้จิตเป็นสมาธิขั้นอัปปนาสมาธิ(ฌาน)
พร้อมทั้งให้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เกิดขึ้นร่วมด้วยนั้น(จึงต้องมีการปรับอินทรีย์ ให้เดินก่อนนั่ง)

ค่อนข้างจะยุ่งยากสำหรับผู้ปฏิบัติจำนวนมาก ที่ชอบนั่ง มากกว่าเดิน
จึงนำอุบายเรื่อง ขณิกสมาธิ มาใช้สอน


ก็ในเมื่อ ให้ทำความเพียรถึงขั้น สมถะ-วิปัสสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
เป็นเรื่องที่อาจดูหนักหนาสาหัส สำหรับบางคน

จึงใช้อุบาย ขณิกสมาธิ มาสอน
นำเรื่องเกี่ยวกับ รูป-นาม มาสอน


ญาณ 16 มาจากไหน ก็มาจาก สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ(ฌานทั้ง 8)
เกี่ยวกับเรื่อง ญาณ 16 ก็มีที่มาจากพม่า ทั้งนั้น

เมื่อยังไม่รู้ ย่อมสนใจสิ่งต่างๆเหล่านี้ เป็นเรื่องธรรมดา
พอรู้ถึงจุดๆหนึ่ง ก็จะรู้เองว่า
ที่แท้ เป็นสภาพธรรม ที่มีเกิดขึ้น เป็นปกติ ขณะจิตเป็นสมาธิเท่านั้นเอง


ก็จะเลิกตื่นเต้น ติดใจ จนสำคัญว่า ได้อะไร เป็นอะไร
ซึ่งมีแต่การสร้างเหตุของการเกิด มากกว่า การกระทำเพื่อดับเหตุของการเกิด


ตราบใดที่ยังมีการพร่ำเรื่อง ญาณต่างๆ
พร่ำเรื่อง สันตติขาด ฆนบัญญัติแตก(นี่ก็เป็นความปกติของสภาพธรรม)
พร่ำกับคำเรียกที่สร้างขึ้นใหม่ ดัดแปลงจากพระธรรมคำสอน(ที่คิดเอาเองว่า ใช่)
บ่งบอกถึง ความติดใจ(นิกันติ) ในสภาพธรรมนั้นๆ


การปฏิบัตินั้น ขึ้นอยู่กับเหตุ(การกระทำ)
และปัจจัย(ตัวที่ก่อให้เกิดการกระทำ)ของแต่ละคน


ส่วนการศึกษาปริยัติต่างๆ
รู้ไว้ใช้ว่า ใส่บ่าแบกหาม
ถ้าเรียนเพื่อศึกษา เรียนเพื่อรู้ ไม่ใช่นำมาเทียบเคียงสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นกับตน เรียนแบบนี้ ไม่เป็นไร เป็นสัญญาติดไว้


หากเรียนรู้ ให้ความสำคัญมั่นหมายสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นในตน
คิดเอาเองว่า น่าจะเรียกแบบนั้น แบบนี้

สำคัญมั่นหมายว่า ได้อะไร เป็นอะไร
มีแต่การนำสิ่งที่เรียนรู้ มาสร้างเหตุภพชาติของการเกิด
เรียนแบบนี้ มีแต่เกิดกับเกิด

เรียนทั้งสองแบบ ถ้าชอบเรียน เรียนไปเถอะ
จงดูสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนชีพอยู่แท้ๆ
คนในสมัยนั้น ปฏิเสธรรมพระธรรมคำสอน สร้างรูปแบบการสอนขึ้นมาใหม่ ก็มีอยู่ แล้วสมัยนี้ จะไปเหลืออะไร


พระพุทธเจ้า จึงทรงเน้นการเรียนรู้ภายในกาย-ใจ เป็นหลัก
โดยให้มุ่งกระทำความเพียรอยู่ภายในกาย-จิต




walaioo:
จิต

มีหลายๆครั้ง ที่วลัยพรมักจะอุทานว่า อะเมซิ่งๆๆๆๆ จิตนี้ช่างอะเมซิ่งจริงๆ ความอัศจรรย์แห่งจิต

จิตมีความลึกลับซับซ้อน ซ่อนความลับไว้มากมาย เป็นทั้งแหล่งการเรียนรู้
หลากหลายวิชาของการเรียนรู้ ทั้งทางโลก(การดำเนินชีวิต) และทางธรรม

ทางธรรม(วิถีแห่งการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์(การเกิด)
ถ้าจะเรียกให้ตรงกับพระธรรมคำสอน เรียกว่า กระทำเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน(การไม่เกิด)

ทั้งสองสิ่งนี้ ต้องอาศัยสภาพธรรมที่เหมือนๆกัน คือ การปรารภความเพียร
เพียรเดิมๆ ซ้ำๆ เรื่องราวเดิมๆ ความรู้สึกเดิมๆ วังวนของกิเลส รัก โลภ โกรธ หลง หมุนวนอยู่ในโลกธรรม ๘


ชีวิตของแต่ละคน จะมีความเป็นไปอย่างไรนั้น
ขึ้นอยู่กับ การกระทำของแต่ละคน ที่กระทำตามแรงผลักดันของกิเลส ที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ
หลงกระทำออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น(สร้างเหตุ)  เหตุปัจจัยจาก ความไม่รู้ที่มีอยู่

การกระทำตามแรงผลักดันของกิเลส เกิดจาก ความไม่รู้ที่มีอยู่
สิ่งแรก คือ ความไม่รู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งมีคำเรียกว่า ผัสสะ

เมื่อไม่รู้ชัดใน ผัสสะ ที่เกิดขึ้นว่า
เพราะอะไรเป็นเหตุปัจจัยให้ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น มีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและไม่มีมีผลต่อความรู้สึกนึกคิด

เมื่อไม่รู้ ย่อมหลงกระทำตามแรงผลักดันของกิเลส ที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ
เมื่อไม่รู้ ย่อมกล่าวโทษนอกตัว โทษคนนั้น คนนี้  โทษกิเลสบ้าง
โทษจิตบ้าง จิตมันโง่ ไม่มีใครทำ สุดท้ายโยนให้จิตว่า ทั้งหมดเป็นเรื่องของจิต

นี่แหละ เหตุปัจจัยจาก ความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น
จึงกล่าวโทษนอกตัว แทนที่จะโทษตัวเอง ตัวกรู ของกรูที่มีอยู่  ล้วนเกิดจากความไม่รู้ที่มีอยู่










พึงดำรงตน อยู่ในความลำบาก

ทางโลก หมายถึง ลำบากใจ การกดข่มใจ พยายามไม่สร้างเหตุ ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ใน ผัสสะ(สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต) ที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ

ทางธรรม หมายถึง ความลำบากใจ เกี่ยวกับการปรารภความเพียร ที่เกิดจาก เหตุและปัจจัย ที่มีอยู่

KhonChaiprakran:
ทักทายยามใกล้เพลาเย็นครับ
|"@ |"@ |"@ |"@ |"@ |"@

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version