ปกิณณกะ > ธรรมะ
ธรรมะ กับ ธรรมเมา
walaioo:
ภาษาบาลี
เมื่อวานเปิดอ่าน สมถะ-วิปัสสนา ในพระไตรปิฎก ที่มีอยู่ในเนต เจอเป็นภาษาบาลี นั่งอ่านทีละหัวข้อ
แฟนมองอยู่ เขาถามว่า วลัยพรอ่านออกเหรอ (ประมาณว่า ไม่เคยเรียนภาษาบาลีมาก่อน แล้วจะอ่านออกได้ยัง)
เราบอกว่า หากอ่านอรรถกถา ที่แปลภาษาบาลีบ่อยๆ และ ความรู้ชัดในสภาพธรรมที่เกิดขึ้น การอ่านภาษาบาลีจึงไม่ใช่เรื่องยาก คำบางคำ ตรงกับสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องแปล
เขาบอกว่า นี่ต้องเปรียญ ๙ ประโยคเชียวนะ
เราหัวเราะเขา ไม่พูดอะไรต่อ
คือ มันเป็นความปกติที่มีเกิดขึ้นของความรู้ชัดในสภาพธรรมต่างๆ
การรู้ภาษาที่ไม่เคยร่ำเรียนมาก่อน เมื่อถึงเวลา จะมีเหตุให้รู้เอง
จึงไม่จำเป็นต้องไปขวนขวายกับเรื่องนอกตัว รู้อยู่ในตัวนี่แหละ
หากรู้ได้ จะทำให้ รู้ภายนอก เหมือนๆกันหมด ซึ่งแตกต่างกันเพียงรูป ที่ปรากฏ
การรู้อยู่ในตัว หากรู้ได้เนืองๆ จะทำให้เกิดการละ และมีเหตุให้ได้ละ ในเหตุและปัจจัยที่มีอยู่
จบจากเรื่องนี้ เรื่องใหม่มาต่อ จบไปทีละขณะๆ
ลองคิดดู เราเวียนว่ายตายเกิดมาเท่าไหร่
เราหลงสร้างเหตุกับผู้อื่น ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นไปเท่าไหร่ คำนวณไม่ได้เลย
นั่นแหละ คือ สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต ที่มีผลกระทบทางใจ
ล้วนเป็นสิ่งที่เคยกระทำไว้ทั้งนั้น
เหตุจากความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น
เมื่อเป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกนึกคิด จึงหลงกระทำตามกิเลส
โดยมีตัณหา ความทะยานอยาก เป็นตัวผลักดัน
ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไป ทางวาจาบ้าง ทางกายบ้าง
สิ่งที่เรียกว่า ชาติ จึงมีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้
ภพชาติการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ จึงมีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้
เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่
walaioo:
ปุจฉา ใครคือพ่อแม่ที่แท้จริงของเรา
วิสัชนา เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เป็นเรื่องของอวิชชา ที่มีอยู่
ปฏิจจสมุปบาท
อิธะ ภิกขะเว
ภิกษุทั้งหลาย !
อะริยะสาวะโก
ปะฏิจจะสะมุปปาทัญเญวะ
สาธุกัง โยนิโสมะนะสิกะโรติ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจ
โดยแยบคายเป็นอย่างดี
ซึ่ง ปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว
ดังนี้ว่า
…
อิมัสมิง สะติ อิทัง โหติ
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้
สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
อิมัสมิง อะสะติ อิทัง นะ โหติ
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้
สิ่งนี้จึงดับไป
ยะทิทัง
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
…
อะวิชชาปัจจะยา สังขารา
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย
จึงมีสังขารทั้งหลาย
สังขาระปัจจะยา วิญญาณัง
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย
จึงมีวิญญาณ
วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย
จึงมีนามรูป
นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย
จึงมีสฬายตนะ
สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย
จึงมีผัสสะ
ผัสสะปัจจะยา เวทะนา
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย
จึงมีเวทนา
เวทะนาปัจจะยา ตัณหา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา
ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน
อุปาทานะปัจจะยา ภะโว
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงมีภพ
ภะวะปัจจะยา ชาติ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย
จึงมีชาติ
ชาติปัจจะยา
ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะ
ทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ
ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ
ทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน
เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ
ทุกขักขันธัสสะ สะมุทะโย โหติ
ความเกิดขึ้นพร้อม
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
…
อะวิชชายะเตววะ
อเสสะวิราคะนิโรธา สังขาระนิโรโธ
เพราะความจางคลายดับไป
โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว
จึงมีความดับแห่งสังขาร
สังขาระนิโรธา วิญญาณะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งสังขาร
จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
วิญญาณะนิโรธา นามะรูปะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ
จึงมีความดับแห่งนามรูป
นามะรูปะนิโรธา สะฬายะตะนะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งนามรูป
จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
สะฬายะตะนะนิโรธา ผัสสะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ
จึงมีความดับแห่งผัสสะ
ผัสสะนิโรธา เวทะนานิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ
จึงมีความดับแห่งเวทนา
เวทะนานิโรธา ตัณหานิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งเวทนา
จึงมีความดับแห่งตัณหา
ตัณหานิโรธา อุปาทานะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งตัณหา
จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
อุปาทานะนิโรธา ภะวะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน
จึงมีความดับแห่งภพ
ภะวะนิโรธา ชาตินิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งภพ
จึงมีความดับแห่งชาติ
ชาตินิโรธา
ชะรามะระณัง โสกะ ปะริเทวะ
ทุกขะโทมะนัสสุปายาสา นิรุชฌันติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล
ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ
ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ
ทั้งหลายจึงดับสิ้น
เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ
ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหตีติ
ความดับลง
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
ดังนี้
สาธยายธรรม – บทสวดปฏิจจสมุปบาท
( หน้า ๒๒ – ๒๘ )
http://www.buddha-quote.com/?p=22
walaioo:
ภัยในอนาคต ๕ ประการ
การทำความเพียร
แข่งกับอนาคตภัย
ภิกษุทั้งหลาย !
ภัยในอนาคตเหล่านี้ มีอยู่ ๕ ประการ
ซึ่งภิกษุผู้มองเห็นอยู่
ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเผากิเลส
มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้น
อยู่ตลอดไป
เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว
ภัยในอนาคต ๕ ประการนั้น
คืออะไรบ้างเล่า ?
…
ห้าประการ คือ
( ๑ ) ภิกษุในกรณีนี้
พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า
บัดนี้เรายังหนุ่ม ยังเยาว์วัย
ยังรุ่นคะนอง มีผมยังดำสนิท
ตั้งอยู่ในวัยกำลังเจริญ คือ ปฐมวัย
แต่จะมีสักคราวหนึ่ง
ที่ความแก่จะมาถึงร่างกายนี้
ก็คนแก่ถูกความชราครอบงำแล้ว
จะมนสิการถึงคำสอน
ของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น
ไม่ทำได้สะดวกเลย
และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด
ซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย
ก่อนแต่สิ่ง
อันไม่เป็นที่ต้องการ
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ
( คือความแก่ )
นั้นจะมาถึงเรา
เราจะรีบทำความเพียร
เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว
ซึ่งเป็น สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว
ซึ่งเป็น สิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว
แม้จะแก่เฒ่าก็จักอยู่เป็นผาสุก ดังนี้
…
( ๒ ) ภิกษุทั้งหลาย !
ข้ออื่นยังมีอีก
ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า
บัดนี้เรามีอาพาธน้อย มีโรคน้อย
มีไฟธาตุให้ความอบอุ่นสม่ำเสมอ
ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก พอปานกลาง
ควรแก่การทำความเพียร
แต่จะมีสักคราวหนึ่ง
ที่ความเจ็บไข้จะมาถึงร่างกายนี้
ก็คนที่เจ็บไข้ถูกพยาธิครอบงำแล้ว
จะมนสิการถึงคำสอน
ของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น
ไม่ทำได้สะดวกเลย
และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด
ซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย
ก่อนแต่สิ่ง
อันไม่เป็นที่ต้องการ
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ
( คือความเจ็บไข้ )
นั้นจะมาถึงเรา
เราจะรีบทำความเพียร
เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว
ซึ่งเป็น สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว
ซึ่งเป็น สิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว
แม้จะเจ็บไข้ก็จักอยู่เป็นผาสุก ดังนี้
…
( ๓ ) ภิกษุทั้งหลาย !
ข้ออื่นยังมีอีก
ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า
บัดนี้ข้าวกล้างามดี
บิณฑะ หาได้ง่าย
เป็นการสะดวกที่จะยังชีวิตให้เป็นไป
ด้วยความพยายามแสวงหาบิณฑบาต
แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่
ภิกษาหายาก ข้าวกล้าเสียหาย
บิณฑะหาได้ยาก
ไม่เป็นการสะดวกที่จะยังชีวิตให้เป็นไป
ด้วยความพยายามแสวงหาบิณฑบาต
เมื่อภิกษาหายาก
ที่ใดภิกษาหาง่าย
คนทั้งหลายก็อพยพกันไป ที่นั้น
เมื่อเป็นเช่นนั้น
ความอยู่คลุกคลีปะปนกันในหมู่คนก็จะมีขึ้น
เมื่อมีการคลุกคลีปะปนกันในหมู่คน
จะมนสิการถึงคำสอน
ของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น
ไม่ทำได้สะดวกเลย
และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด
ซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย
ก่อนแต่สิ่ง
อันไม่เป็นที่ต้องการ
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ
( คือภิกษาหายาก )
นั้นจะมาถึงเรา
เราจะรีบทำความเพียร
เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว
ซึ่งเป็น สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว
ซึ่งเป็น สิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว
จักอยู่เป็นผาสุก
แม้ในคราวที่เกิดทุพภิกขภัย ดังนี้
…
( ๔ ) ภิกษุทั้งหลาย !
ข้ออื่นยังมีอีก
ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า
บัดนี้ คนทั้งหลายสมัครสมาน
ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน
เข้ากันได้ดุจดั่งนมผสมกับน้ำ
มองแลกันด้วยสายตาแห่งคนที่รักใคร่กัน
เป็นอยู่
แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่
ภัย คือ โจรป่ากำเริบ
ชาวชนบทผู้ขึ้นอยู่ในอาณาจักร
แตกกระจัดกระจายแยกย้ายกันไป
เมื่อมีภัยเช่นนี้
ที่ใดปลอดภัย
คนทั้งหลายก็อพยพกันไป ที่นั้น
เมื่อเป็นเช่นนั้น
ความอยู่คลุกคลีปะปนกันในหมู่คนก็จะมีขึ้น
เมื่อมีการอยู่คลุกคลีปะปนกันในหมู่คน
จะมนสิการถึงคำสอน
ของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น
ไม่ทำได้สะดวกเลย
และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด
ซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย
ก่อนแต่สิ่ง
อันไม่เป็นที่ต้องการ
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ
( คือโจรภัย )
นั้นจะมาถึงเรา
เราจะรีบทำความเพียร
เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว
ซึ่งเป็น สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว
ซึ่งเป็น สิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว
จักอยู่เป็นผาสุก
แม้ในคราวที่เกิดโจรภัย ดังนี้
…
( ๕ ) ภิกษุทั้งหลาย !
ข้ออื่นยังมีอีก
ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า
บัดนี้สงฆ์สามัคคีปรองดองกัน
ไม่วิวาทกัน มีอุเทสเดียวกัน
อยู่เป็นผาสุก
แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่
สงฆ์แตกกัน
เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว
จะมนสิการถึงคำสอน
ของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น
ไม่ทำได้สะดวกเลย
และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด
ซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย
ก่อนแต่สิ่ง
อันไม่เป็นที่ต้องการ
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ
( คือสงฆ์แตกกัน )
นั้นจะมาถึงเรา
เราจะรีบทำความเพียร
เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว
ซึ่งเป็น สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว
ซึ่งเป็น สิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว
จักอยู่เป็นผาสุก
แม้ในคราวเมื่อสงฆ์แตกกัน ดังนี้
…
ภิกษุทั้งหลาย !
ภัยในอนาคต ๕ ประการเหล่านี้แล
ซึ่งภิกษุผู้มองเห็นอยู่
ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเผากิเลส
มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้น
อยู่ตลอดไป
เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เสียโดยเร็ว
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ( ภาคปลาย )
การทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย
( หน้า ๑๑๕๘ – ๑๑๖๑ )
walaioo:
http://www.youtube.com/watch?v=I069GnrWYc8
walaioo:
หิริ โอตัปปะ
หิริ โอตัปปะ : ความละอายและความเกรงกลัวต่อบาปทั้งต่อหน้า และลับหลัง
หิริ เป็นธรรมรักษาคุ้มครองโลก ทำให้โลกเกิดสันติ ทำให้คนเราอยู่กันอย่างสงบสุข
เพราะคนที่มีหิริจะเกลียดความชั่ว และละอายที่จะทำความชั่วทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทำให้ไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่โลกและสรรพสัตว์ทั้งปวง
หากเราคิดจะทำสิ่งใดที่ชั่ว ความละอายจะเกิดขึ้นมาในใจ แม้ว่าคนอื่นจะไม่เห็น คิดทำชั่วคืออย่างไร
คือถ้าเราทำอะไรลงไป ถ้าหากว่ามันไม่ถูกต้องแล้วมันรู้สึกจะละอายในใจตนเอง
แต่ตามหลักท่านบอกว่านักปราชญ์ทั้งหลายไม่สรรเสริญ ไม่นิยม นั่นเรียกว่า ผิดจากธรรม
ความละอายนี่แหละเป็นต้นเหตุให้ทำความดี ความดีทั้งหมดเกิดจากความละอายทั้งนั้น ความไม่ดีเกิดจากความไม่ละอายนั่นเอง
ศีล ๕ ข้อมีความละอายเป็นเบื้องต้น เป็นสมุฏฐาน หากว่ามีความละอายในใจแล้วไม่กล้าทำ ศีลข้อนั้นก็งดเว้นได้หมด
โอตตัปปะ (อ่านว่า โอดตับปะ) แปลว่า ความเกรงกลัว หมายถึงความสะดุ้งกลัวต่อผลของความชั่ว ต่อผลของความทุจริตที่ทำไว้
โอตตัปปะ เป็นอาการของจิตที่หวั่นไหวเมื่อจะทำความชั่ว เพราะกลัวความผิดที่จะตามให้ผลในภายหลัง
เกิดขึ้นได้เพราะคิดถึงโทษหรือความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นจากการทำชั่ว จากการประพฤติทุจริตของตน
เช่น ตัวเองเองต้องเดือดร้อน เกิดความเสียหาย เสียทรัพย์สินเงินทอง เสียอิสรภาพ หรือถูกคนอื่นตำหนิติเตียน ถูกสังคมรังเกียจ เป็นต้น
โอตตัปปะ เป็นธรรมคุ้มครองโลกคู่กับหิริ เพราะคนที่มีโอตตัปปะย่อมกลัวที่จะทำความผิด
ทำให้งดเว้นจากการประพฤติต่างๆ ได้ อันเป็นเหตุให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข
ชาดก 500 ชาติ
โมรณัจจชาดก ว่าด้วยผู้ขาดหิริโอตัปปะ
ครั้นเมื่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธรัฐแล้ว
ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จจากนครราชคฤห์ อันมีฉายาว่าเบญจคีรี ที่มีภูเขาทั้ง 5
เป็นปราการมาประทับยังนครสาวัตถีในแคว้นโกศลนั้น แสงธรรมจากพระพุทธองค์ก็ส่องรัศมีกระจ่างไปทั่วแผ่นดินอนุทวีปให้พลังแก่ชีวิตดุจกันกับแสงทินกร
เวลานั้นกุลบุตรจากทุกตระกูลหลั่งไหลกันเข้าบวชในพระพุทธศาสนาเพราะสัจธรรมอันวิเศษเป็นจำนวนมาก
“หากเราได้บวชแล้วจิตใจเราคงสงบมากกว่านี้แน่ อยากจะบวชเร็วๆ จังเลย
การรักษาศีล ฟังธรรม จิตใจช่างสงบดีแท้ หากเราบวชแล้วประพฤติธรรม จิตใจคงสงบมากกว่านี้"
นอกจากนี้ก็ยังมีสมณะนักบวชหลายนิกาย เมื่อนำเอาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเปรียบเทียบกับความเชื่อของตน
ก็บังเกิดปีติ หันมาถือศีล ปฏิบัติธรรมวินัย จนพระเชตะวันมหาวิหารมากมายไปด้วยสงฆ์สาวก
เช่นกันกับชายตระกูลพราหมณ์คนหนึ่ง เมื่อมีโอกาสมาฟังธรรมเทศนาก็รู้สึกสงบมีความสุขใจ จึงรอโอกาสมาบวชอยู่เช่นกัน
“บัดนี้ เมื่อภรรยาเราตายจากไปแล้ว เราก็คงหมดห่วงหมดกังวลกับทางโลกแล้ว เราคงถึงเวลาเข้าสู่ร่มกาสาวพัตรตามความต้องการเสียที”
พราหมณ์ผู้นี้มีฐานะดี กินอยู่สุขสบายจนเป็นนิจ จึงเตรียมเครื่องอำนวยความสะดวกไปใช้เป็นอย่างมาก
“เอ เตรียมของครบหรือยังหน๊า กานี้สำหรับต้มน้ำ เหยือกนี้ไว้ใส่น้ำดื่มกิน อาหารเสริมก็มีแล้ว ทำไมตะกร้ายังดูโล่งๆ ขาดอะไรอีกหน๊า”
นอกจากเตรียมเครื่องบริขารเกินจำเป็นแล้ว ก่อนเข้าเฝ้าขออุปสมบท พราหมณ์ยังนำช่างไปก่อสร้างกุฏิ โรงครัวส่วนตัว รอไว้ครบถ้วน
“เอาล่ะๆ เสร็จแล้วก็มาเก็บกวาดซะให้สะอาดแล้วขนเฟอร์นิเจอร์มาได้”
“ขอรับนายท่าน กระผมเกรงว่า โรงครัวจะเล็กเกินไป ไม่พอใส่ข้าวของ จะทำอย่างไรดีล่ะเนี่ย”
“จะไปยากอะไรล่ะ เจ้าก็ไปบอกให้ช่างเนี่ย ให้เขาขยายโรงครัวให้ใหญ่ขึ้นสิ แต่ให้รีบๆ ทำหน่อยล่ะ เพราะฤกษ์บวชใกล้เข้ามาแล้ว”
เมื่อใกล้ฤดูพรรษา พราหมณ์ผู้มีนิสัยสำรวยก็ได้รับพระกรุณาเป็นเอหิภิกขุอุปสมบทและอยู่จำพรรษาในกุฏิใหม่ของตน
“ในที่สุด เราก็ได้บวชตามที่ใจปรารถนา จากนี้ไปคงได้ปฏิบัติธรรมให้จิตใจสงบได้เสียที”
ภิกษุผู้รักสบายเมื่อบวชแล้ว นอกจากมีจีวรสวยงาม มีบริขารอุดมสมบูรณ์แล้ว ภิกษุใหม่รูปนี้ยังสั่งให้คนรับใช้ที่บ้านมาคอยบริการทั้งกลางวันกลางคืน
“อาหารที่เราสั่งได้หรือยัง มาแล้วครับนายท่าน อุ่ย! ไม่ใช่สิ หลวงพี่”
ความประพฤติของภิกษุสงฆ์รูปนี้ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากมายในหมู่สงฆ์ด้วยกัน
“ภิกษุ ท่านเข้ามาบวชในศาสนาพุทธแล้ว ไยถึงไม่ละกิเลส ทำไมท่านถึงยังสะสมบริขารไว้มากมายเช่นนี้เล่า”
“นั่นน่ะสิ เมื่อท่านยังรักความสบายอยู่อย่างนี้ แล้วเมื่อไหร่ท่านถึงจะบรรลุธรรมเล่า”
“ไม่เอาหน่า หลวงลุง ท่านไม่มีเหมือนกระผมก็อย่าอิจฉาสิ กระผมเนี่ย จะบรรลุธรรมหรือไม่ มันก็เป็นเรื่องของกระผม พวกท่านไม่ต้องยุ่งหรอกหน่า”
ภิกษุผู้หลงในทรัพย์บริขารของตน จึงถูกนำตัวไปเฝ้าพระบรมศาสดาในธรรมสภา เพื่อให้องค์ศาสดาทรงตำหนิและให้สติเพื่อปลุกสำนึกในพระวินัยอันดีในเวลานั้น
“ดูก่อนภิกษุ เธอมีโอกาสศึกษาพระธรรมอันดี สมควรอยู่ในวินัยสมณะ ไม่ผิดวินัยเช่นนี้”
อนิจจา! พระกรุณาธิคุณนั้น กลับทำให้ภิกษุผู้มีกรรม บังเกิดความโกรธผุดลุกขึ้นกระชากจีวรออกจากร่างทันที
“วินัยสมณะที่แท้ก็แค่ผ้าเหลืองเท่านั้น หึ! ถ้ากระผมถอดออกก็ถือเป็นอิสระใช่ไหม ถ้าอย่างนั้นน่ะ ก็เหลือวินัยข้อเดียวตามใจตัวเองเป็นดีที่สุด ฮ่าๆๆ”
“เฮ้อ! ไม่น่าเลย พระองค์ทรงเตือนแล้ว ยังไม่สำนึกอีก”
ภิกษุใหม่เคยต่อความสุขสบายมานาน เมื่อถูกทำให้อับอายก็โกรธจนลืมตัว ถอดจีวร ถอดอังสะ ยืนอุจาดกลางที่ประชุมอย่างขาดหิริโอตัปปะ
“ฮ่าๆๆ เห็นไหม เมื่อเราถอดผ้าออกก็ถือว่าอิสระ ใครก็กล่าวโทษเราไม่ได้ ฮ่าๆๆ”
“โอ้! ช่างไม่รู้จักอับอายบ้างเลย เฮ้อ”
“ดูสิ ถูกตักเตือนอยู่แท้ๆ ยังไม่รู้ผิดอีก เฮ้อ! ไม่ได้เรื่อง”
การกระทำที่น่าอับอายนี้ อุบาสก อุบาสิกาและพระภิกษุทั้งหลายในธรรมสภาต่างไม่พอใจ
จึงว่ากล่าวและบริภาษอย่างรุนแรงจนต้องหนีออกจากพระเชตวันไป
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงตรัสอดีตชาติของพระภิกษุผู้ไม่ละอายขึ้นเป็นอุทาหรณ์ ในโมรณัจจชาดกดังต่อไปนี้
อดีตกาลย้อนไปแต่ครั้งต้นกัป ครั้งที่โลกยังสวยงามและอุดมสมบูรณ์ หมู่สัตว์ทั้งหลายต่างเคารพซึ่งกันและกัน ไม่ล่วงเกินกล่าวร้ายกัน เช่นคนในวันนี้
ในหิมพานต์ป่าใหญ่ครั้งนั้น ยังมีพญาหงส์เป็นหัวหน้าหมู่นกทั้งปวง คราวหนึ่งถึงเวลาการมีคู่ครองของธิดาพญาหงส์ ซึ่งเจริญวัยเป็นสาวและสวยงามกว่าวิหกใดๆ
“ลูกของเราเนี่ย ช่างงามแท้ๆ เฮ้อ! ถึงเวลาหาคู่ให้ลูกของเราแล้วล่ะสิเนี่ย คิดไปก็ใจหาย ไม่อยากให้จากอกพ่อไปเลย เฮ้อ”
“เราเป็นสาวเต็มตัวแล้วหรือเนี่ย ถึงเวลาที่จะมีคู่แล้วสิ คิดแล้วก็ตื่นเต้น เนื้อคู่เราจะเป็นนกเช่นใดนะ”
เมื่อพญาหงส์ประกาศให้นกหนุ่มๆ ทั้งหลายมาชุมนุมกันเพื่อเลือกคู่ ธิดาซึ่งเป็นสาววัยกำดัด ก็ยิ่งงดงามจนชื่อเสียงกำจรขจาย เป็นที่ใฝ่ปองของนกทั้งหิมพานต์
“สวยๆ อย่างเรา ก็ต้องได้คู่ที่ดี เหมาะกับเราเท่านั้น พ่อประกาศหาคู่ให้เราเช่นนี้ นกหนุ่มๆ น้อยใหญ่ก็คงแห่มาเพียบสินะ เฮ้อ! เราจะเลือกนกเช่นไรมาเป็นคู่ดีนะ”
ครั้นถึงวันนัดหมาย นกทั้งหลายก็พากันบินมารวมกันกลางลานเลือกคู่
"เร็วเข้าๆ ใครร่อนลงก่อนน่ะ ก็มีสิทธิ์ได้ดูตัวก่อนนะ ไม่รอใครแล้ว ธิดาหงส์ต้องเป็นคู่เราเท่านั้น”
“อย่าโม้ไปหน่อยเลยหน่า เราต่างหากที่คู่ควรกับธิดาหงส์น่ะ”
ไม่ช้าบริเวณรายรอบลานป่าที่พญาหงส์ใช้เป็นที่ชุมนุมก็มีเหล่านกทั้งหลายมารอกันมากมาย
“โห! มีนกหนุ่มๆ มากันเพียบเลย อยากรู้จังว่าธิดาหงส์น่ะ หญิงในดวงใจของเรา จะชอบนกเช่นไร”
“ก็ต้องเป็นนกที่สง่างามอย่างข้านี่แหละ”
“เฮอะ อย่างเจ้านี่หรอ สง่างาม ถ้านกอย่าเจ้าสง่างามน่ะ ก็คงไม่มีนกตัวใดขี้ริ้วขี้เหร่แล้วล่ะ”
เนื่องด้วยความงามอย่างเพียบพร้อมของหงส์สาว ทำให้มีนกหนุ่มๆ มากมาย ใฝ่ฝัน อยากเป็นคู่
“ถ้าเพียงแต่ได้น้องมาครองคู่ ชีวิตนี้พี่ก็ไม่ต้องการสิ่งใดอีกแล้ว ขอให้เป็นเราทีเถอะ ที่จะได้เคียงคู่กับน้องธิดาหงส์”
“พญาแร้งหนุ่มอย่างเรา โดดเดี่ยวอยู่ในภูเขานี้มาก็หลายปี ถ้าได้ธิดาหงส์มาครองรักนะ หุบเขาแห่งนี้ก็คงไม่เปลี่ยวปล่าว เหงา เดียวดาย อย่างเช่นเคยแน่นอน
โลกของเรานี่มันก็ต้องมีแต่สีชมพู มองไปทางไหนก็คงอบอุ่นไปด้วยความรักเต็มไปหมด ง่า”
“กาดำอย่างเรา ถึงตัวจะดำแต่ใจก็ไม่ดำ หวังว่าธิดาหงส์น่ะ คงจะมองผ่านความดำเข้ามาถึงจิตใจอันงดงามของเราบ้าง
เฮ้อ! ตื่นเต้นจริงๆ เลย ปีนี้หวังว่า จะได้สละโสดกับเขาซะที”
เมื่อเวลาผ่านไปพอสมควร ธิดาพญาหงส์ก็แสดงความพึงพอใจ นกยูงหนุ่มตัวหนึ่ง
“อุ้ย! ตายล่ะ ดูพ่อนกยูงตัวนั้นสิ ช่างงามสง่ายิ่งนัก ถูกใจเราเหลือเกิน”
“เหอะๆๆๆ ธิดาหงส์มองมาทางเราอย่างชื่นชม วางท่าสง่างามไว้ งานนี้มีเฮแน่ เหอะๆๆๆ”
เมื่อธิดาหงส์เลือกนกยูงหนุ่มมาเป็นคู่ ผู้เป็นพ่อจึงเชิญให้นกยูงผู้โชคดีออกมาแสดงตัวแก่เหล่าวิหคทั้งหลาย
“โอ้โห อือหือ ช่างสง่างามยิ่งนัก ตัวดำๆ อย่างเราเนี่ย ก็คงต้องเหงาเหมือนเคย เฮ้อ! ไม่เจียมตัวจริงๆ เลย”
“ช่างน่าปลาบปลื้มใจแทนเขาทั้งสองคน เหมาะสมกันยิ่งนัก”
“เหอะๆๆๆ ดูสิ เหล่านกพวกเนี้ย ล้วนชื่นชมเรากันทั้งนั้น เฮ้อ! เกิดมาหล่อ สง่างามก็อย่างนี้แหละ”
อันนกยูงนั้น มันลำพองในความงามของขนหางอยู่แล้ว ครั้นได้รับเกียรติ ได้รับคำเยินยอเข้า นิสัยอยากอวดก็กำเริบขึ้น
“เหอะๆๆๆๆ เจ้านกทั้งหลายพวกนั้นน่ะ คงชื่นชอบความงามของขนหางเราล่ะสิ คอยดูเถอะ เราจะทำให้นกพวกนั้นน่ะ ต้องตาค้างเพราะความงามของเรา”
นกยูงหนุ่มเชิดคอตั้ง ออกไปกลางลานโล่ง แล้วโชว์ขนหางออกลำแพน หันไปหันมา อวดของดีในตัวอย่างไม่อายใคร
“นี่ ดูซะก่อน เจ้านกทั้งหลาย ขนของเรางามกว่าที่พวกเจ้าคิดไว้ตั้งเยอะ หันก้นไปทางโน้นหน่อยดีกว่า จะได้มองเห็นรอบๆ”
“อุ้ย น่าเกลียดจริงๆ นกอะไรไม่รู้จักกาลเทศะเลยนะเนี่ย เฮ้ย กาดำอย่างเราน่ะ ถึงรูปจะไม่งาม แต่ก็ไม่เคยมีนิสัยอย่างนี้หรอกนะ”
“นั่นนะสิ เสียดายธิดาหงส์จริงๆ ไม่น่าเลือกนกอย่างนี้เลย”
“คิดได้ไง กางขนออกมา ไม่อายนกตัวอื่นๆ บ้างเลย”
“ไม่รู้จักอายแบบเนี่ย เลือกแร้งอย่างเราซะดีกว่า แกว่าไหม”
“นั่นน่ะสิ ลูกพี่รูปไม่หล่อ แต่นิสัยดีกว่านี้อีก”
พญานกเมื่อเห็นพฤติกรรมนกยูงก็ทนขัดเคืองไม่ไหว
“เธอขาด หิริ คือความไม่ละอายใจ ขาดโอตัปปะ คือความไม่เกรงคำนินทา จึงทำให้ประจานตนอย่างนี้ เธอคงไม่เหมาะที่จะเป็นคู่กับธิดาของเราแล้วล่ะ”
“โธ่ ไม่น่าเลยเรา อยู่ดีไม่ว่าดี รู้เงี้ยะ ยืนเฉยๆ ก็ดี ฮือๆๆๆ ธิดาหงส์ของพี่”
นกยูงถูกขับไล่ออกไปแต่บัดนั้น หงส์น้อยแสนสวย ถูกยกให้เป็นคู่กับหงส์หนุ่มที่มาเลือกคู่ด้วยความเหมาะสม ก็ได้ครองรักอยู่กินกันไปจนสิ้นอายุขัย
ธิดาหงส์ได้เลือกหงส์หนุ่มมาเป็นคู่ชีวิตของตน
“หือ ดีใจจังที่ได้พี่หงส์มาเป็นคู่ คราวนี้น้องเลือกคู่ไม่ผิดจริงๆ” “พี่จะคอยดูแลเจ้าให้มีความสุขเองจ้า”
นกยูง ได้กำเนิดเป็น ภิกษุผู้ขาดหิริโอตัปปะ
พญานก เสวยพระชาติเป็น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version